วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 16 :+: StoryTellerの成長

มายามดึกอีกแล้ววว 55555

วันนี้จะมาอัพเรื่อง Story telling ของตัวเอง
หลังจากได้ทำมาแล้ว 2 ครั้ง

ในส่วนของการเป็นผู้เล่านั้น....

เริ่มตั้งแต่ตอนต้น
ในครั้งแรกที่ทำ ขึ้นต้นด้วย 「この話は~」
แต่ครั้งที่ 2 มีการเกริ่นเรียกร้องความสนใจให้เพื่อนฟัง「ねー、きいてきいて」

การขึ้นต้นเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ...รู้สึกได้ว่า ถ้าขึ้นต้นเรื่องให้ テンションสูงไว้ก่อน เนื้อเรื่องหลังจากนั้น จะเล่าให้เหมือนเราสนุกกับมันจริง ๆ ได้ง่ายขึ้น และเพื่อนก็จะテンションสูงตามด้วย ทำให้การเล่าเรื่องครั้งที่ 2 ถึงแม้จะเล่ายากกว่าครั้งแรก แต่รู้สึกว่าเล่าแล้วสบาย(楽)กว่าครั้งแรกมาก

น้ำเสียง
ครั้งแรก ใช้น้ำเสียงเรียบ ๆ เหมือนพูดปกติ
ครั้งที่ 2 มีการใช้น้ำเสียงสูงต่ำ เน้นบางจุดมากขึ้น มีการใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ เช่น 「え!」

ชอบน้ำเสียงของครั้งหลังตรงที่รู้สึกว่าตัวเองก็อินไปกับเรื่อง เช่น ตอนที่ え!ก็เป็นเสียงตกใจจริง ๆ และตามที่พูดไปแล้ว พอตอนต้น テンション สูงแล้ว ระหว่างเล่าเรื่อง ถึงจะติดขัดเรื่องภาษาไปบ้าง แต่ テンション ก็ไม่ค่อยตก ยังอินและสนุกกับการเล่าไปได้จนจบเรื่อง

การเล่าช่วงไคลแมค
รู้สึกว่ายังเล่าได้ไม่ดึงดูดทั้งสองครั้ง ToT
แต่สำหรับครั้งที่ 2 สามารถดึงช่วงไคลแมคให้ยาวขึ้นกว่าครั้งแรกได้บ้างแล้ว

อันนี้ยากอ่ะ คงต้องไปหาว่าเวลาคนญี่ปุ่นเล่าเค้าเล่ายังไง อธิบายเหตุการณ์ยังไง คงต้องไปศึกษาหามาฟังแล้วลองเลียนแบบดู >w<;;

การใช้คำโต้ตอบเมื่อเพื่อนมีการตอบโต้กลับมา
ครั้งแรก ไม่ค่อยมีการฟอลโล่คำที่เพื่อนตอบมาเท่าไหร่
เช่น (その人が外国人?)そうだよね /ดูเป็นการตอบรับที่ไม่ค่อยสนใจเพื่อนเลย *นุขอโทษ ToT*
ครั้งที่ 2 สามารถตั้งสติและมีการตอบเพื่อนได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น
เช่น(あ、家で?)うん、家で、


และในส่วนของการเป็นผู้ฟังนั้น

สิ่งที่สังเกตได้ชัดคือ มีการตั้งคำถามกับผู้เล่ามากขึ้น
ในครั้งแรก ส่วนใหญ่จะเป็นแค่การตอบรับ หรือแสดงความรู้สึก

แต่ครั้งที่ 2 มีการถามคำถามกลับไป สลับกับการตอบรับปกติ

*จริง ๆ นุก็ตั้งใจอยากจะถามให้เพื่อนเล่าเรื่องได้ง่ายขึ้น แต่บางทีพอถามไปแล้วก็กลับมาคิดว่ามันทำให้เพื่อนเล่าต่อได้ง่ายขึ้นจริง ๆ หรือว่าไปขัดเพื่อนตอนเล่า ToT*
ทำให้รู้เลยว่า การเป็นผู้ฟังและผู้followที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย และจังหวะกับการ判断ว่าจะพูดหรือไม่พูดแทรกตรงไหนและแทรกอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญ

________________________________________________________

หลังจากที่ได้สลับเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังทั้งสองครั้งแล้วสิ่งที่ได้เรียนรู้คือ...
1. การที่จะทำให้เรื่องที่เราเล่าดูน่าสนใจได้ เราต้องสนุกกับการเล่าและอินกับเรื่องด้วย เมื่อเราสนุกและอิน น้ำเสียงของเราก็จะไปตามเนื้อเรื่อง ทำให้เสียงไม่นิ่งเกินไป มีขึ้นลง น่าติดตามมากขึ้น
2. หลังจากที่เพื่อนตอบรับ ตอบโต้กลับมา ควรมีการตอบกลับก่อนเล่าต่อบ้าง จะทำให้รู้สึกว่าเราใส่ใจผู้ฟังอยู่เช่นกัน ไม่ใช่เล่าอยู่ฝ่ายเดียว
3. เวลาจะตอบโต้ผู้เล่าควรกะจังหวะให้ดี จะทำให้อีกฝ่ายเล่าเรื่องได้ไหลลื่นมากขึ้น และเราก็ได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้นด้วย (ในกรณีที่ตั้งคำถามกลับไป)

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 15 :+: 発表お疲れ様でした

ในที่สุดงานของวิชา App Jap Ling ก็จบไปอีกงาน

นั้นก็คืองานพรีเซ้นต์ค่าาา >///<



รีพอร์ตการพรีเซ้นต์ในครั้งนี้นะคะ

สไลด์หน้าตาเป็นแบบนี้เลยยย







หลังจากที่แก้ไขกันไปหลายรอบ ก็ได้สไลด์ที่ตัวเองพอใจ
1. ตัวอักษรน้อย
2. มีสีสัน และใช้สีช่วยเน้นในจุดที่ต้องการ
3. การเรียงลำดับที่เข้าใจง่ายขึ้น

ทำให้เมื่อเวลาพรีเซ้นต์ นอกจากจะช่วยเป็นอุปกรณ์เสริมให้ผู้ฟัง สนใจสิ่งที่เรานำเสนอเพิ่มขึ้นแล้ว
ยังเป็นสิ่งที่เป็นคล้าย ๆ กับshort noteของเราตอนพูดด้วย
"ลืมว่าจะพูดอะไรต่อก็เหล่ดูสไลด์เอา" 55555555

เพราะฉะนั้นการเลือกคำลงไปในสไลด์จึงมีความสำคัญมากในระดับนึงเลยค่ะ


หลังจากที่สไลด์พร้อม ก็มาเขียนสคริปต์กัน
>o<
ในตอนแรกก็เขียนแบบ พยายามคิดหาลูกเล่นอะไรใส่เข้าไป
...เขียนบทพูดให้เหมือนเวลาอธิบายหรือเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง... เพื่อที่คำพูดจะได้ไม่แข็งเกินไป และน่าฟังมากขึ้น
และเพราะพรีเซ้นต์เป็นคู่
...เขียนบทถามตอบกัน... ตอนแรกตั้งใจจะให้เหมือนรายการโทรทัศน์ที่มีพิธีกรกับแขกรับ แต่ด้วยเวลาที่จำกัดทำให้ไม่สามารถโต้ตอบกันได้มากเท่าไหร่ จึงเป็นการถามคำถามและตอบคำตอบ ไม่ได้มีการโยนบทพูดไปมา

เมื่อได้กิมมิกของการพรีเซ้นต์คู่แล้ว ก็มาฝึกซ้อมกันค่ะ
เป็นการซ้อมคู่แบบไฟลนก้นมาก
เพราะมาซ้อมรวมกันตอนเช้าก่อนพรีเซ้นต์แล้วบ่ายก็พรีเซ้นต์เลย

ตอนซ้อมก็มีการจับเวลา
ครั้งแรก ๆ ยังไม่คล่องเท่าไหร่ ก็ได้ประมาณเวลาที่กำหนดพอดี
แต่!!!!! พอคล่องแล้วมันเร็วมาก จบเร็วมากค่ะ
จึงพยายามลดความเร็วลง และ...เลือกเน้นคำที่ต้องการ...เช่น คำที่เป็นภาษาไทย ให้ช้าลงและชัดขึ้น

และก็มาถึงตอนพรีเซ้นต์!!!!!
เอาตรง ๆ ก็จำไม่ค่อยได้เท่าไหร่ว่าพูดครบตามสคริปต์มั้ย
แต่เนื้อหาที่อยากจะสื่อก็พูดไปครบแล้ว ><
ตอนแรกแอบตื่นเต้นนิดหน่อย
แต่ต้องขอบคุณน้อง ๆ ที่มีส่วนร่วมกับการพรีเซ้นต์ ทำให้หายเกร็งหายตื่นเต้นไปเยอะเลย <3

โดยส่วนตัวแล้วค่อนข้างพอใจกับการพรีเซ้นต์ในครั้งนี้
แบบว่าออกมาดีกว่าที่คิด >w<




สิ่งที่ได้เรียนรู้
  1. ตอนพรีเซ้นต์ ต้องมีสติ!!! ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทั้งความผิดพลาดทางเทคนิคที่เกิดจากคนหรือคอมพิวเตอร์ ถ้าตั้งสติได้ ก็จะสามารถทำให้แก้ปัญหาและพรีเซ้นต์ต่อไปได้
  2. การมีอายคอนแทค ส่วนตัวตอนพรีเซ้นต์เอง นอกจากตอนที่ถามคำถาม รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้สบตากับใคร อาจจะเป็นเพราะจังหวะไม่ตรงกัน แต่ตอนที่เป็นผู้ฟัง แล้วน้อง ๆ พรีเซ้นต์ เมื่อมีอายคอนแทค จะรู้สึกว่าน้องกำลังคุยกับเรา ทำให้รู้สึกว่าต้องตั้งใจฟังต่อ
  3. การพูด แม้จะพูดติดขัดบ้าง แต่ถ้าใส่フィラーให้เป็นธรรมชาติ จะรู้สึกว่า "เห้ย นี่คือการพูดคุยกันปกติ" ไม่ได้รู้สึกว่าผู้พูด พูดไม่คล่อง หรือลืมบทเลย
  4. สไลด์ เป็นสิ่งที่ดึงดูดในอยากรู้เรื่องราวที่จะนำเสนอมากกว่าที่คิด สไลด์ที่มีรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ จะทำให้รู้สึกว่า "เค้าจะมานำเสนอในแนวไหน" ทำให้เกิดความสงสัย และอยากฟังต่อ และการสร้างตารางเปรียบเทียบในสไลด์ ช่วยให้เข้าใจและจดจำได้มากขึ้น
  5. การทำท่าทางบ้างให้เข้ากับเรื่องที่พรีเซ้นต์ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกสนุกสนานมากขึ้น เหมือนได้เปลี่ยนอารมณ์จากการนั่งฟังเฉย ๆ มาดูสิ่งที่มีการเคลื่อนไหว
  6. ถ้ามี おまけ แถมให้และเป็นอะไรที่ไม่เคยรู้มาก่อนและน่าสนใจ จะทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าจดจำ และโดดเด่นขึ้นมา ทำให้การนำเสนอนั้นเป็นที่อะไรที่ 印象に残る มากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 14 :+: 「うるじゃん」から学ぼう

สวัสดีค่ะ ครั้งนี้มาเขียนต่อตอนกลางวันล่ะค่ะ 55555

ไปต่อกับรายการที่ 2 ได้เลยค่ะ

ผู้พูดคือ สีเขียวจะเป็นรุ่นพี่เจ้าของเรื่องเล่าโดยตรง และสีฟ้าจะเป็นรุ่นน้องที่อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ไม่ได้เจอเหตุการณ์นั้นโดยตรงค่ะ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น : ในช่วงหนึ่งของการแสดงคอนเสิร์ต เป็นช่วงที่จะเริ่มด้วยการเล่นคีบอร์ดสด แล้วจะมี 2 คนออกมาร้องเพลงคลอดนตรี
แต่!!!
เมื่อเสียงคีบอร์ด(伊野尾)ดังขึ้น "เห้ย อะไรซักอย่างแปลก ๆ นะ" แฟน ๆ ในโดมเริ่มซุบซิบกัน
vocal (山田) คนแรกก็พยายามร้องจนจบท่อนของตน
vocal คนที่ 2 ซึ่งก็คือสีเขียว(薮) ร้องไปได้ครึ่งท่อน ก็ต้องขอให้เริ่มเล่นใหม่

เอ๊ะมันเกิดอะไรขึ้น

ไปฟังคุณสีฟ้ากับคุณสีเขียวกันค่ะ

สามารถฟังได้ที่ ウルジャン文字起こし -DearカウコンでのChikuTaku失敗話ー
และขอบคุณ文字化มา ณ ที่นี้ค่ะ

まぁ僕 
やぁーあれ、ビックリしましたよ本当に
ステージ上に居たんでね <そうだよね> 
色々わかるんですよぉ <はいはい>
まずあのぉ・・・Chikutakuの <うん> 歌始まりの前に <はいはい> 伊野ちゃんの <ありますね> ピアノの <はい> 前奏がある#$# <前奏があるね>
 あそこからもうおかしかったんです <w おかしかった> 
何が違うかってもぅ キーが <キーが> もう1オクターブ違うんだもん
ま、まぁあれは伊野尾のミスではなく <ではないんだよ 本当は>
まぁあの、ちょっとあの、ね、キーボードをあの <そうそう> 移動する時に 設定が変わっちゃった <そうそう> みたいんでなんか
1回なんかねぇ、電源抜いちゃうと設定が <そうそう> 最初に戻っちゃうみたいで、でぇ、もっかい差したらぁ、あの変えなきゃいけないんですけど、そこを‥忘れてたらしいんですよね?
もうw それを知らずにねぇ <そう>
俺と山田でぇ、「おい、伊野尾やったな 伊野尾やったなぁw 」ってw <ヤバいよね> 
ちゃ、俺はぁ、あの、ドラムでぇ <うん>  スタンバイ‥するじゃないですか <うんうんうん> だからぁ、いつも、山が歌い始めるじゃない?そっからスタンバイするんだけども その前からもうキーが違うってのも分ってぇ、あれ?これもしかして、山がぁ喉やられちゃったか何かでぇ、調子が悪いからぁ、急きょ、1オク‥ <ぁ低く> そう低くしたのかなって思ったの ぁっあぁ〜そう、ゃでもそんな事無いよなぁと思って
いや、俺は
でぇ伊野ちゃんも間違える訳ないんですよ だって鍵盤間違えないしぃ そう、だとしたら <何十回もやってるから> そうそう だとしたらぁ、あ、ピアノの設定がおかしいのかなぁ・・とも思ったの だからどっちかなぁー?と思ってたんだけどw 案の定w 
2人ともw <スタンバイして2人ともw> しかも山田が超テンパって「どうする? <w> どうする薮ちゃん?どうするこれ?やる?
(しかもさw) 
やっやるのこれ?」
しかもさ しかも結構離れてるもねw 山と薮ちゃんw 
ぁちゃう そん時はまだぁ <ぁまだ居たのか>
あのぉかん、前奏の途中から出てくる <ぁそっかそっか>
でぇ、自分のスタンバイ位置に着く <ぁそっか じゃまだ2人 <お互い> 一緒に居たんだw> 
でぇ、もう俺が「山田、しょうがない、やろう <w> しょうがない、やろう」<Show must go onですよ本当に>
でも、<そうだったんだ・・・> なんか最初山田も <うん> 頑張ってやってたの <やってたね>
でもちょいちょいズレるの <そーだねズレてたね>
でぇ、まぁ山田のとこが終わって <w>  俺も頑張ってやってたんだけど <やってた> やっぱちょくちょくズレるのよ <ちょいちょいね> <そう> <うん>
「変わらぁない〜♪」 <w> が本当なんだけど <そう>
「変わらぁないぃ〜」
<w> だいぶ <w> だいぶ渋くなっちゃって <メロウな>
俺らがだいぶ <w> 年配になった後にぃ、ちょっとアレンジして歌ってるみたいな感じになっちゃってぇ
さすがにーねぇ、ゃもう、そこまでは伊野尾のミスだと思ってたから俺 <そだよね> と山田も、やり直そっか <うんうん> つって、俺が止めて <うん> やり直そう、やり直そうつって
それさぁ、やり直そうってゆうのは、その、最初っから気づいてたの? ぁ最初っから言おうって言ってたの?
いや、もぅさすがにぃ、ぁお客さんもザワザワてるから <そうしてきたもんね> クスクスとか <してたねぇ>
<ねぇ> でぇー山田もちょっ、テレ笑いみたいになって <してたしてた> 俺も笑っちゃって <うん> 
で俺は伊野尾のミスだと思ってた <うん> からぁ「やり直そう <うんうん> 伊野ちゃん」つったら伊野尾が「違う!違うんだよぉ!」 <w> つってw 
実は伊野ちゃんのミスじゃなかったってゆう 伊野ちゃんもちょっと、テンパってたってゆう そのビックリする 自分が一番ビックリしてるって 「俺が一番ビックリしてるよ。だって、俺間違えてないんだもん!」って <w> 
<w> あれはヤバかった


เริ่มจากการเล่าเรื่องของคุณสีเขียว มีการใช้คำเลียนเสียง 
ザワザワ : เสียงพูดคุยของคนจำนวนมาก
クスクス : การหัวเราะแบบแอบ ๆ

ส่วนการfollowของคุณสีฟ้านั้น ส่วนตัวแล้วชอบ เพราะ

・สิ่งไหนที่พวกเขาเข้าใจกันอยู่แล้ว แต่คิดว่าผู้ฟัง(รายการ)ไม่เข้าก็จะพูดอธิบายเสริมให้ 
เช่น ตอนที่พูดถึงเรื่องจู่ ๆ คีย์ของคีบอร์ดเปลี่ยนไป ก็มาอธิบายเพิ่มให้ว่าทำไมมันถึงเปลี่ยน
・มีการบอกความคิดเห็นของตน และเล่าเรื่องในฝั่งของตนด้วย ทำให้ไม่รู้สึกว่าคุณสีเขียวพูดอยู่คนเดียวมากเกินไป เป็นการจัดรายการร่วมกันของทั้งสองคน
ในส่วนนี้จะคล้าย ๆ กับรายการที่แล้ว คือ นอกจากเจ้าของเรื่องจะเล่าเรื่องของตัวเองแล้ว อีกฝ่ายจะมีการเล่าเรื่องของตัวเองที่มีความเกี่ยวข้องกันด้วย
เช่น
คุณสีเขียวเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้ยินว่าคีย์เพี้ยน คุณสีฟ้าก็เล่าเหตุการณ์ของฝั่งตัวเองในขณะนั้นด้วยว่าเกิดอะไรและคิดอะไร
ของรายการHello! Drive!ที่เขียนไปคราวที่แล้ว เมื่อคนแรกเล่าเรื่องการถูกสะกดจิตของตน อีกฝ่ายก็แชร์ประสบการณ์ถูกสะกดจิตที่เคยโดนให้ฟังด้วย
เป็นต้น

และการตอบรับตอบโต้ในรายกายช่วงที่ตัดมานี้ คือคุณสีฟ้าจะมีการฟอลโล่สนับสนุนด้วยคำเดียวกับที่คุณสีเขียวพูดเยอะ เช่น
 あそこからもうおかしかったんです <w おかしかった>
前奏がある#$#<前奏があるね>
でもちょいちょいズレるの <そーだねズレてたね>
เป็นต้น
ทำให้รู้ว่านี่ก็เป็นวิธีการสื่อให้อีกฝ่ายทราบได้เช่นกันว่าเรากำลังฟังอยู่นะ
โดยการ ถ้าเรามีข้อมูล ความเข้าใจ หรือความเห็นตรงกับที่อีกฝ่ายพูด สามารถใช้การวิธีการนี้ได้



ส่วนเรื่องอื่น ๆ น่าจะเคยเขียนไปแล้ว
客に!นี่เป็นรายการที่ 4 ที่เขียนแล้วยังเจอเรื่องใหม่ ๆ ที่ได้เรียนรู้ววว
เพราะงั้นต้องฟังต่อไปเรื่อย ๆ 5555555
น่าจะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ อีกเยอะเลย ><

ส่วนไลฟ์ที่ต้องจัด ถ้าได้จัดแล้วต้องเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปลองใช้ค่ะ!!!
อยากรู้จังว่าจะออกมาเป็นยังไง >< 
がんばります!!!