วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

:+: 6 :+: Bilingual School Time♡

จากในคาบเรียน ที่มีการพูดถึงเรื่องการเรียนภาษาที่ 2 อย่างไรจึงจะดี
ได้คำตอบว่าเรียนแบบ i+1 คือเรียนสิ่งที่ยากกว่าความรู้ที่มีไป 1 ระดับ
เพราะถ้ายากกว่านั้น ก็ยากที่จะทำความเข้าใจ
แสดงถึงว่าเนื้อหาต้องเหมาะสมกับผู้เรียน

ทำให้!!!!!

เกิดความสงสัยเกี่ยวกับช่วงเวลาเรียนที่เหมาะสม

ก่อนหน้านี้ก็เคยได้ยินว่าการที่จะมีโอกาสพูดได้แบบเจ้าของภาษา ต้องเริ่มเรียนในช่วงอายุไม่เกิน 12-14 ปี
จึงลองไปหาข้อมูล และพบงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษของคุณเกรียงศักดิ์ สยะนานนท์ และคุณวัฒนา พัดเกตุ
ที่มีการทดสอบภาษาอังกฤษ พบว่าเด็กที่เริ่มเรียนตั้งแต่อนุบาล สามารถทำข้อสอบได้คะแนนดีกว่า คนที่เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ส่วนนักเรียนเริ่มเรียนชั้นป.1และป.5 ได้คะแนนไม่ต่างกันมากนัก คนที่เริ่มป.5สามารถทำคะแนนได้ดีกว่าเพียงเล็กน้อย จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเพราะการสอนด้วย ผู้สอนชั้นป.1อาจจะคิดว่านักเรียนยังเด็กจึงไม่ได้สอนอัดแน่นเท่าในระดับป.5
นี่จึงเป็นอีกงานวิจัย ที่ทำให้เขื่อว่า ภาษาเรียนตั้งแต่อายุน้อยยิ่งดี มากขึ้น

พอลองเทียบกับตัวเองดู...
ถึงแม้ว่าตอนนี้ภาษาอังกฤษจะลืม ๆ ไปแล้ว
แต่ตอนเด็กเคยศึกษาอยู่โรงเรียนไบลิงกวลที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ 70% ภาษาไทย 30% โดยประมาณ
การเรียนในตอนนั้นคือ เริ่มจากย้ายจากโรงเรียนไทยธรรมดาไปเป็น2ภาษาตอนป.3ป.4 อายุก็ประมาณ 9-10 ปี
ด้วยเลเวลภาษาอังกฤษที่แย่มาก
และเพื่อนในห้องก็ดูเก่งภาษาอังกฤษกัน อีกทั้งลูกครึ่งหลายคนมาก ครึ่งอังกฤษ ครึ่งอิตาลี อินเดียแท้ ๆ เลยก็มี เพื่อนอินเดียพูดไทยได้ด้วย เก่งสุด!!! 5555555
ถึงแม้ว่าจะเริ่มจากอายุน้อยยังไง แต่ชั้นป.3-4 เลเวลเพื่อนก็ไปไกลแล้ว... นอกจากเรื่องภาษาที่ต้องตามให้ทัน ยังมีเรื่องการเรียน ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งหมด!!!
พ่อกับแม่จึงคุยกับทางโรงเรียน แล้วจัดคลาสแยกให้
...เรียนคนเดียวไปเลยจ้า~
วิชาที่เป็นภาษาอังกฤษที่เพื่อนเรียนตั้งแต่ป.1-3 เรียนภายใน 3 เดือน!!! กับครูต่างชาติตัวต่อตัว ไม่มีล่ามประกบให้ใด ๆ ทั้งสิ้น
เข้าใจได้ว่า i+1 เป็นเช่นไร... เพราะถ้าไม่เริ่มตั้งแต่แรก คงเรียนไม่ไหว และคงจะกลายเป็นเรียนแบบท่องจำ ท่องแกรมม่า ท่องศัพท์เหมือนเอาไว้ใช้เฉพาะตอนสอบ เหมือนตอนเรียนโรงเรียนไทยทั่วไป...
และนอกจากเรื่องความรู้ทางวิชาการ สกิลภาษาอังกฤษนั้น ก็เกิดขึ้นเองแบบไม่รู้ตัว... เพราะในสถานการณ์นั้น มีกัน2คนกับทีชเชอร์เทอรีน(ชื่ออาจารย์ที่สอนตัวต่อตัวทุกวิชาที่เป็นภาษาอังกฤษ) จะไม่พูดก็ไม่ได้ กลายเป็นว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทุกวัน
แต่ในตอนนั้น สกิลภาษาอังกฤษน่าจะยังมีไม่เยอะ คุยตัวต่อตัวได้ เพราะทีชเชอร์จะเลือกคำให้เข้ากับเรา

ของจริงคือต่อจาก 3 เดิอนนั้น....

เปิดปีการศึกษาใหม่ ต้องไปเรียนรวมกับเพื่อนในห้องแล้วจ้าาาา /รีบมาก...!!! 55555
จำได้ว่าตอนนั้นเรียนเข้าใจในระดับนึง แต่เวลาโดนดุรวมทั้งห้องจะไม่เข้า แล้วไม่ขอให้เพื่อนแปลให้ด้วย 55555
ส่วนเวลาที่ทีชเชอร์พูดอะไรที่ไม่เข้าใจ จะมีคนกระซืบแปลให้เป็นระยะ ๆ
แล้วก็โดยไม่รู้ตัวอีกเช่นกัน..... จู่ ๆ ก็พูดภาษาอังกฤษได้เฉยเลย...
แกรมม่าคืออะไรก็ไม่รู้จัก คือพูด ๆ ไปเลย คือมันพูดได้เอง มันต่อประโยคออกมาเอง (ตอนนี้ทำไม่ได้แล้วแน่ ๆ... เศร้า...)

สรุปว่าพูดอังกฤษได้เฉยเลยค่าาา เย่ ปรบมือ 88888

55555555555

แต่ที่ยากกว่าอังกฤษคือวิทย์...
อันนี้คือวิชาต้มกินที่แท้จริง... ถึงจะบอกว่า i+1 ยังไง วิชานี้สำหรับมิ้นน่าจะเป็น i+1+1 เพราะต้องเจอทั้งศัพท์ใหม่และความรู้ใหม่ไปพร้อม ๆ กัน ช่วงแรก ๆ ที่ศัพท์พื้นฐานในหัวน้อยนี่ ตอนสอบวิชานี้คือท่องไปค่ะ! ท่องทุกคำ 55555
แต่หลัง ๆ เมื่อเริ่มมีศัพท์เยอะขึ้น ก็เริ่มสร้างประโยคตอบเองได้แล้ว ก็ทรมานน้อยลงมาหน่อย ><;;

กลับมาเรื่องภาษาอังกฤษ!!! 55555
การเรียนภาษาที่ 2 ตั้งแต่เด็ก ๆ คิดว่าดีกว่าจริง ๆ โดยเฉพาะในการให้ไปเรียนแบบที่สภาพแวดล้อมเป็นคนที่ใช้นั้น ๆ แบบนี้ เพราะจะต้องใช้แน่ ๆ ไม่ใช้ไม่ได้ เด็กจะซึมซับและก็อปปี้เองโดยไม่รู้ตัว /เห็นได้จากการที่ไม่เคยเรียนแกรมม่าแต่สามารถอยู่ได้ 55555
และในโรงเรียนแบบนี้ นอกจากต้องพูดกับทีชเชอร์แล้ว บางครั้งเด็กยังต้องเป็นล่ามให้อาจารย์บางคนกับทีชเชอร์ด้วย เป็นการสร้างความมั่นใจและบอกเด็กเป็นนัย ๆ ว่าภาษาที่เรียนนั้นมีประโยชน์
อีกอย่างคือ ในสังคมเพื่อนกันเอง มีการใช้อังกฤษสลับกับไทย
ซึ่งจริง ๆ จะว่าเป็นสิ่งที่ดีก็ไม่ถูกซะทีเดียว /เคยติดเอาวิธีพูดอิ๊งสลับไทยมาใช้ที่บ้านละโดนคุณแม่ดุด้วย5555/
แต่มันทำให้เราได้คุ้นเคยกับภาษาที่ 2 อยู่ตลอดเวลา
เช่น เวลาคุยกับเพื่อนที่ได้ภาษาไทย แต่เวลาอุทานจะใช้คำอุทานของภาษาอังกฤษเช่น ouch! OMG  กลายเป็นปฏิกริยาอัตโนมัต คำที่ใช้เรียกชื่อวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษ  เช่น แมธ(math)  ซายแอน(scient) คำอื่น ๆ เช่น ไปกินlunchกัน เป็นต้น
คำพวกนี้เป็นคำที่ได้ใช้ทุกวัน
รวมทั้งเพื่อนหลาย ๆ คน ไม่ใช่เนทีฟไทย เวลาเพื่อนนึกภาษาไทยไม่ออกเลย จะกลายเป็นว่าต้องคุยภาษาอังกฤษกัน

ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุกวันไม่ต่างกับภาษาไทย

คิดว่าน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เด็กที่เรียนโรงเรียน 2 ภาษาแบบนี้ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้แบบไม่ต้องคิดนาน และใช้ได้เลย แม้ว่าที่บ้านจะสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยก็ตาม

เย่~ พอ!!! พอก่อน
ลองได้นึกถึงเรื่องของตัวเองเมื่อก่อนแล้วสนุก ;___; และคิดถึงเพื่อน ๆ แงงงง
อันนี้คือจุดขึ้นของการเรียนภาษาที่ 2 ของเด็กไบลิงกวล
เดี๋ยวคราวหน้าจะมาเขียนจุดที่ทำให้ภาษาอังกฤษของมิ้นหายไป 55555
มันก็ยังใช้ได้แหละ แต่เมื่อเทียบกับตอนเด็ก ๆ แล้ว ตอนนั้นคล่องกว่าเยอะ ฮืออออ

บุ๊บบุ้ยค่าาาา

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

:+: 5 :+: 会いたみが深い

อะเคค อันนี้เป็นบลอกที่ไม่ได้เกี่ยวกับบทเรียน แต่อยากจะบันทึกภาษาญี่ปุ่นที่เจอตอนไปแลกเปลี่ยนไว้

ก่อนอื่นคือต้องเล่าก่อนว่า...
ตอนไปแลกเปลี่ยน ได้เข้าร่วมชมรมเต้นโคฟเวอร์ของม.จูโอ
ซึ่งเป็นชมรมเล็ก ๆ อาจจะฟีลเดียวกับวงเต้นโคฟเวอร์ของไทย
มีสมาชิกไม่เยอะ ทุกคนค่อนข้างสนิทและรักในการเม้ามอย
.
.
.
และแน่นอนว่า คนญี่ปุ่นล้วน ๆ ไม่มีต่างชาติผสม...
พอเข้าไปเลยกลายเป็นคนต่างชาติคนแรก
เพื่อน ๆ น่ารักมากกก ทุกคนเห็นว่าพอเข้าใจภาษาญี่ปุ่น เลยใช้ภาษาญี่ปุ่นแบบปกติที่คุยกันจริง ๆ
おかげで!!!
ทำให้ได้เห็นความจริง!!!
ที่เรียนมาคืออะไรเหรอออ 5555555
เวลาคุยตัวต่อตัวกันก็ไม่มีปัญหา แต่เวลาทุกคนคุยกลุ่มกันคือจะทันบ้างไม่ทันบ้าง
เรื่องไหนไม่เข้าใจก็ต้องปล่อยเบลอไป...
แต่สิ่งที่ได้มาคือ ช่วงที่เข้าชมรม จะเป็นช่วงที่สกิลภาษาญี่ปุ่นขึ้นไวมาก (แลกมากับความทรมานเบา ๆ 5 5555)
อีกอย่างคือได้ศัพท์ที่วัยรุ่นใช้กันจริง ๆ

และได้เจอรูปประโยคแบบนี้

「形容詞」み  + が + 深い

ที่ถึงกับจำกลับมาถามอาจารย์ที่ม.โทโยเอวะ ว่า "อาจารย์รู้จักมั้ยคะ"

อาจารย์ทำหน้างงใส่
แล้วถึงกับร่ายใส่ว่า ก็รู้หลักแกรมม่าไม่ใช่เหรอ ว่าแบบนี้มันไม่ถูก แบบนี้ต่อกับอันนี้ไม่มีนะ 5555555

หลังจากได้ยินเพื่อนหลาย ๆ รอบ ก็เริ่มจับได้ว่าประโยคนี้แปลว่าอะไร
ถ้าแปลเป็นไทย ก็น่าจะได้ความประมาณว่า "...มาก โคตร..." ประมาณนี้

และเมื่อกี้ลองไปเสิร์จว่า みが深い จากทวิตเตอร์ ก็ว่ามีการใช้คำว่า
嬉しみが深い
エモみが深い
暇みが深い
良さみが深い
ヤバみが深い
เป็นต้น

และในช่วงหลัง ๆ นี้ในกรุ๊ปไลน์วงก็มีการใช้...
「嬉しみ!」
「会いたみが!」
「踊りたみが!」
「行きたみ!」
「ヤバみー!」
「エモみ!」
แบบนี้แล้ว...


ภาษาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
ถ้าเราไม่ได้อยู่ตรงนั้น อาจจะตามไม่ทัน

แม้ว่าภาษาแบบนี้ถึงไม่รู้ เราก็ยังสื่อสารด้วยภาษาญี่ปุ่นตามหลักในหนังสือที่เราได้เรียนได้

แต่ถ้ามีโอกาสได้รู้จักคำศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้
ก็จะทำให้เรารู้จักภาษาที่คนญี่ปุ่นใช้กันจริง ๆ มากขึ้น

เราอาจจะไม่ได้ใช้ศัพท์เหล่านี้เอง
แต่อาจจะมีคนพูดกับเรา เราจะได้เข้าใจ และต่อบทสนทนาได้ไหลลื่นต่อไป เย่ >w<

:+: 4 :+: 説明文

2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้เรียนเรื่องการเขียน 説明文
ผ่านการเขียนบอกทางจากช่องนนทรีไปตึกBRK
/จริง ๆ เกือบจะเขียนแนะนำให้ไปแทกซี่แล้ว...แต่ดักคอไว้ทัน 55555

นอกจากปัญหาเรื่องผิดแกรมม่าหรือพิมพ์ผิดแล้ว
การเขียนโดยนึกถึงคนอื่น คิดว่าตัวเองค่อนข้างคิดถึงผู้อ่านมากในระดับนึง
อาจจะเป็นเพราะอยู่กับเพื่อนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทยบ่อย
เป็นการฝึกตัวเองให้นึกถึงอีกฝ่าย ตลอดเวลาที่พูดอยู่แล้ว
ถ้าพูดยากไป หรือพูดเป็นธรรมชาติของเรา(ซึ่งจริง ๆ แล้วผิดหลักภาษา)มากไป เพื่อนก็จะไม่เข้าใจ
ตอนที่เขียนแนะนำทาง 
---อย่างแรก เลยพยายามนึกว่าถ้าเราเป็นคนอ่าน เราอยากอ่านแบบไหน
คำตอบคือ "ไม่อยากอ่านยาว ๆ" และ "เข้าใจง่าย"
เลยเลือกที่จะเขียนเป็นข้อ ๆ เพราะรู้สึกว่าจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และไม่ติดกันจนรู้สึกว่ายาวเกินไป
---อีกอย่างคือ ลองคิดว่าถ้าเราไม่รู้ทางเลย อ่านแบบนี้จะเข้าใจหรือเปล่า
เขียนไป และกลับไปอ่านบรรทัดบนที่เขียนไปแล้วอีกครั้ง และอีกครั้ง...

จากคอมเม้นที่เพื่อน ๆ และน้อง ๆ คอมเม้นมาให้
ก็รู้สึกโอเค ดูหลาย ๆ คนจะชอบที่เขียนเป็นข้อ ๆ >///<
และมีคอมเม้นเรื่องชื่อสถานี ...ตอนแรกเขียนเป็นคาตาคานะไป
แล้วก็ได้รับคำแนะนำดี ๆ ซึ่งตอนเขียนลืมนึกถึงข้อนี้ไป
ว่า "ชื่อสถานี เขียนเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยก็ดีนะ"

พอลองนึกดูแล้ว ถ้าเราเขียนภาษาอังกฤษไว้
คนอ่านก็สามารถเทียบกับป้ายที่สถานีได้เลย
เป็นการป้องกันการอ่านป้ายผิด แล้วหลงไปผิดสถานี (.___.);;

ตอนที่เขียนรอบสองเลยเพิ่มลงไปแว้วววว >w<

แล้วก็ลองเปลี่ยนเป็นใช้รูป ます ดู เพราะเห็นจากตัวอย่างว่าคนญี่ปุ่นก็ใช้
ไม่ต้องแบบ ください รัว ๆ ก็ได้

แต่
.
.
.
รอบสองพอแก้เป็น ます แล้ว อ่านซ้ำก็เลยแก้คำเชื่อมตรงอื่นไปด้วย
แล้วใช้ そしてบ่อยมากกกกกกกกก
เหตุผมนึงอาจจะเป็นเพราะคำเชื่อมในหัวน้อย คำนี้เลยออกมาก่อน TOT
และ
ออกมาเยอะเกินไป....

คราวหลังน่าจะต้องสังเกตการใช้ そして ของตัวเองให้มากกว่านี้
เพราะปกติไม่เคยจับได้เลยว่าตัวเองใช้ตอนไหน และใช้เยอะไปมั้ยยยย

ถ้ารู้ตัวว่าใช้เยอะแบบนี้ทุกรอบ อาจจะต้องหาวิธีลดการใช้ลง
อาจจะต้องฝึก หรือหาคำอื่นมาสลับ ๆ กันใช้บ้าง

แต่อย่างไรก็ตามคงต้องสังเกตตัวเองต่อไปอีกนิดดดด ฮึบบบ

____________________________________________________

สรุปแล้วเรื่องที่สังเกตตัวเองได้จากการเขียน 説明文 คือ
คิดว่าตัวเองน่าจะมีปัญหาเรื่องคำศัพท์และคำช่วย(และอาจจะคำเชื่อมด้วย...) มากกว่าการเขียน "説明文"

วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

:+: 3 :+: 分かれ道


 จากที่ไปสอบถามHi Native ว่า 3แยก ภาษาญี่ปุ่นพูดว่าอะไร !!???

ได้รับคำตอบว่า...


• ถ้ามีลักษณะแบบนี้ จะเรียกว่า 丁字路 หรือ T字路 ตามลักษณะที่คล้ายตัว T

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQQUgzEgyXkc0gJEryeG29W5EVanVN3YPVkRvoMgwrRzezTVmBS)



• ถ้ามีลักษณ์แบบนี้ จะเรียกว่า Y字路 ตามลักษณะเช่นกัน

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTgLQi9T_-NaFkFYn21L1ThvxBTRw8bAl2fDIJ-pEzYay3FkpFh)



และหลังจากได้ไปศึกษาเพิ่มเติม 4แยกที่มีลักษณะเป็นตัวX อาจจะมีคนเรียกว่าX字路 แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายทัวไป ทำให้คิดคาดเดาได้ว่า ในอนาคตอาจจะมีถนนที่ใช้ตัวอักษรอธิบายลักษณ์ อาจจะเป็นเพราะลักษณะของตัวอักษร เป็นสิ่งที่เมื่อกล่าวขึ้นแล้วคนทั่วไปเห็นภาพลักษณะของสิ่งนั้น ๆ ได้ชัดเจน~

ไว้ถ้าเจอข้อมูลอะไรน่าสนใจเพิ่ม จะมาอัพเพิ่มละกันน้า~ บะบายยย♡