วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 16 :+: StoryTellerの成長

มายามดึกอีกแล้ววว 55555

วันนี้จะมาอัพเรื่อง Story telling ของตัวเอง
หลังจากได้ทำมาแล้ว 2 ครั้ง

ในส่วนของการเป็นผู้เล่านั้น....

เริ่มตั้งแต่ตอนต้น
ในครั้งแรกที่ทำ ขึ้นต้นด้วย 「この話は~」
แต่ครั้งที่ 2 มีการเกริ่นเรียกร้องความสนใจให้เพื่อนฟัง「ねー、きいてきいて」

การขึ้นต้นเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ...รู้สึกได้ว่า ถ้าขึ้นต้นเรื่องให้ テンションสูงไว้ก่อน เนื้อเรื่องหลังจากนั้น จะเล่าให้เหมือนเราสนุกกับมันจริง ๆ ได้ง่ายขึ้น และเพื่อนก็จะテンションสูงตามด้วย ทำให้การเล่าเรื่องครั้งที่ 2 ถึงแม้จะเล่ายากกว่าครั้งแรก แต่รู้สึกว่าเล่าแล้วสบาย(楽)กว่าครั้งแรกมาก

น้ำเสียง
ครั้งแรก ใช้น้ำเสียงเรียบ ๆ เหมือนพูดปกติ
ครั้งที่ 2 มีการใช้น้ำเสียงสูงต่ำ เน้นบางจุดมากขึ้น มีการใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ เช่น 「え!」

ชอบน้ำเสียงของครั้งหลังตรงที่รู้สึกว่าตัวเองก็อินไปกับเรื่อง เช่น ตอนที่ え!ก็เป็นเสียงตกใจจริง ๆ และตามที่พูดไปแล้ว พอตอนต้น テンション สูงแล้ว ระหว่างเล่าเรื่อง ถึงจะติดขัดเรื่องภาษาไปบ้าง แต่ テンション ก็ไม่ค่อยตก ยังอินและสนุกกับการเล่าไปได้จนจบเรื่อง

การเล่าช่วงไคลแมค
รู้สึกว่ายังเล่าได้ไม่ดึงดูดทั้งสองครั้ง ToT
แต่สำหรับครั้งที่ 2 สามารถดึงช่วงไคลแมคให้ยาวขึ้นกว่าครั้งแรกได้บ้างแล้ว

อันนี้ยากอ่ะ คงต้องไปหาว่าเวลาคนญี่ปุ่นเล่าเค้าเล่ายังไง อธิบายเหตุการณ์ยังไง คงต้องไปศึกษาหามาฟังแล้วลองเลียนแบบดู >w<;;

การใช้คำโต้ตอบเมื่อเพื่อนมีการตอบโต้กลับมา
ครั้งแรก ไม่ค่อยมีการฟอลโล่คำที่เพื่อนตอบมาเท่าไหร่
เช่น (その人が外国人?)そうだよね /ดูเป็นการตอบรับที่ไม่ค่อยสนใจเพื่อนเลย *นุขอโทษ ToT*
ครั้งที่ 2 สามารถตั้งสติและมีการตอบเพื่อนได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น
เช่น(あ、家で?)うん、家で、


และในส่วนของการเป็นผู้ฟังนั้น

สิ่งที่สังเกตได้ชัดคือ มีการตั้งคำถามกับผู้เล่ามากขึ้น
ในครั้งแรก ส่วนใหญ่จะเป็นแค่การตอบรับ หรือแสดงความรู้สึก

แต่ครั้งที่ 2 มีการถามคำถามกลับไป สลับกับการตอบรับปกติ

*จริง ๆ นุก็ตั้งใจอยากจะถามให้เพื่อนเล่าเรื่องได้ง่ายขึ้น แต่บางทีพอถามไปแล้วก็กลับมาคิดว่ามันทำให้เพื่อนเล่าต่อได้ง่ายขึ้นจริง ๆ หรือว่าไปขัดเพื่อนตอนเล่า ToT*
ทำให้รู้เลยว่า การเป็นผู้ฟังและผู้followที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย และจังหวะกับการ判断ว่าจะพูดหรือไม่พูดแทรกตรงไหนและแทรกอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญ

________________________________________________________

หลังจากที่ได้สลับเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังทั้งสองครั้งแล้วสิ่งที่ได้เรียนรู้คือ...
1. การที่จะทำให้เรื่องที่เราเล่าดูน่าสนใจได้ เราต้องสนุกกับการเล่าและอินกับเรื่องด้วย เมื่อเราสนุกและอิน น้ำเสียงของเราก็จะไปตามเนื้อเรื่อง ทำให้เสียงไม่นิ่งเกินไป มีขึ้นลง น่าติดตามมากขึ้น
2. หลังจากที่เพื่อนตอบรับ ตอบโต้กลับมา ควรมีการตอบกลับก่อนเล่าต่อบ้าง จะทำให้รู้สึกว่าเราใส่ใจผู้ฟังอยู่เช่นกัน ไม่ใช่เล่าอยู่ฝ่ายเดียว
3. เวลาจะตอบโต้ผู้เล่าควรกะจังหวะให้ดี จะทำให้อีกฝ่ายเล่าเรื่องได้ไหลลื่นมากขึ้น และเราก็ได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้นด้วย (ในกรณีที่ตั้งคำถามกลับไป)

1 ความคิดเห็น:

  1. เรื่องเล่าของกลุ่มหนูสองคน มีการโต้ตอบที่น่าสนใจ เหมือนกับทั้งคู่พยายามตั้งใจฟังเพื่อนที่เล่ามากๆเลยค่ะ เมื่อเทียบกับการเล่าตอนแรกก็มีสีสันมากขึ้นจริงๆค่ะ

    ตอบลบ