วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

:+: LAST :+: ~る・だ → ~ます・です → ~る・だ

สวัสดียามดึกกก ดูท่าว่าไม่ดึกจะไม่อัพ 55555
ครั้งนี้น่าจะเป็นเอนทรี่สุดท้ายของวิชานี้แล้ว
เลยขออัพสิ่งที่สงสัยส่วนตัวละกัน

เรื่องมีอยู่ว่า...
ช่วงหลัง ๆ ตอนคุยกับเพื่อนญี่ปุ่นที่ปกติก็ใช้รูปธรรมดาแล้ว
จู่ ๆ บางประโยคเพื่อนก็เปลี่ยนเป็นรูป ます เฉยเลย
...ทำไม...
ถ้าไม่สนิทระดับนี้จะทำใจให้ไม่งงได้บ้าง 55555

จนไปถามปู่เกิ้ลมา แล้วเจองานวิจัยอันนึง

เค้าเก็บข้อมูลการใช้เปลี่ยนมาใช้รูปสุภาพได้ 7 กรณี

***ประโยคก่อนหน้าประโยคตัวอย่าง先輩จะใช้รูปปกติ***

1. เวลาอธิบาย
➤เมื่อประโยคก่อนหน้าเป็นรูปธรรมดาหมด ประโยคที่ถูกเปลี่ยนเป็น ます หรือสุภาพอื่น ๆ ขึ้นมาจะมีความโดดเด่นและได้รับความสนใจ
เช่น
อธิบาย เหตุการณ์เวลาทำงานพิเศษ
先輩 : いらっしゃいませやっててたまに変な人が来るんですよね。


2. เวลาตอบกลับหลังจากถูกถามซ้ำหรือถามเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
➤เพราะทำให้ความเป็นจริงที่ต้องการบอกดูมีความกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น
เช่น
後輩 : それって、XX研修のやつでしたっけ?
先輩 : うん XXの語学研修ですね。


3. เวลาต้องการให้อีกฝ่ายเห็นด้วย
การใช้ ~じゃないですか?กับวัยรุ่น ➤ สามารถสื่อถึงความอ่อนโยนและมีผลด้านการโน้มน้าวใจให้คล้อยตามได้
เช่น
先輩 : でもさなんか、夏水着ほしいじゃないですか?


4. เวลาคิดถึงใจฝ่ายตรงข้าม
➤ แสดงถึงความอ่อนโยน ต้องการปลอบโยน(?)ใจอีกฝ่าย
เช่น
先輩 : いいと思いますよ。


5. เวลาตอบเรื่องที่เป็นด้านลบ
➤ แสดงถึงความจริงจังต่อเรื่องที่พูดมากขึ้น
เช่น
เมื่อรุ่นพี่จะไม่ไปทำงานพิเศษแล้ว
後輩 : 必死ですか?
先輩 : 必死す。

6. เวลาเอ็นดูหรือเห็นอกเห็นใจอีกฝ่าย
➤ แสดงความเห็นด้วยที่แฝงไปด้วยความเอ็นดูปลอบโยนอีกฝ่าย
เช่น
後輩 : 謝りに行きました。
先輩 : 偉いです
後輩 : ごめんなさいって。
先輩 : 偉いです


7. เวลาพูดซ้ำที่อีกฝ่ายพูด
➤ เวลาต้องการจะพูดซ้ำกับอีกฝ่าย ให้ซ้ำรูปเดียวกับที่อีกฝ่ายใช้เลย จะให้จังหวะดีกว่า
เช่น
先輩 : XXドラマにぜひね北条5代がなってほしいよね。
後輩 : 応援してます。
先輩 : 応援してます



สรุปแล้วเพื่อนนางน่าจะพูดด้วยความเอ็นดูล้วน ๆ 5555555
อาจจะเพราะเค้าเป็นพี่ด้วย เลยให้ฟีลแบบพูดกับเด็ก
และอีกกรณีนึงคือต้องการยืนยันให้ชัดเจน
สรุปว่าก็เคลียร์กับเรื่องนี้ในระดับนึงค่ะ

ไว้จะเอาไปใช้กับน้อง ๆ บ้าง อิอิ


สำหรับวิชานี้ก็ おつかれ นะคะ
>_________________<

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 16 :+: StoryTellerの成長

มายามดึกอีกแล้ววว 55555

วันนี้จะมาอัพเรื่อง Story telling ของตัวเอง
หลังจากได้ทำมาแล้ว 2 ครั้ง

ในส่วนของการเป็นผู้เล่านั้น....

เริ่มตั้งแต่ตอนต้น
ในครั้งแรกที่ทำ ขึ้นต้นด้วย 「この話は~」
แต่ครั้งที่ 2 มีการเกริ่นเรียกร้องความสนใจให้เพื่อนฟัง「ねー、きいてきいて」

การขึ้นต้นเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ...รู้สึกได้ว่า ถ้าขึ้นต้นเรื่องให้ テンションสูงไว้ก่อน เนื้อเรื่องหลังจากนั้น จะเล่าให้เหมือนเราสนุกกับมันจริง ๆ ได้ง่ายขึ้น และเพื่อนก็จะテンションสูงตามด้วย ทำให้การเล่าเรื่องครั้งที่ 2 ถึงแม้จะเล่ายากกว่าครั้งแรก แต่รู้สึกว่าเล่าแล้วสบาย(楽)กว่าครั้งแรกมาก

น้ำเสียง
ครั้งแรก ใช้น้ำเสียงเรียบ ๆ เหมือนพูดปกติ
ครั้งที่ 2 มีการใช้น้ำเสียงสูงต่ำ เน้นบางจุดมากขึ้น มีการใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ เช่น 「え!」

ชอบน้ำเสียงของครั้งหลังตรงที่รู้สึกว่าตัวเองก็อินไปกับเรื่อง เช่น ตอนที่ え!ก็เป็นเสียงตกใจจริง ๆ และตามที่พูดไปแล้ว พอตอนต้น テンション สูงแล้ว ระหว่างเล่าเรื่อง ถึงจะติดขัดเรื่องภาษาไปบ้าง แต่ テンション ก็ไม่ค่อยตก ยังอินและสนุกกับการเล่าไปได้จนจบเรื่อง

การเล่าช่วงไคลแมค
รู้สึกว่ายังเล่าได้ไม่ดึงดูดทั้งสองครั้ง ToT
แต่สำหรับครั้งที่ 2 สามารถดึงช่วงไคลแมคให้ยาวขึ้นกว่าครั้งแรกได้บ้างแล้ว

อันนี้ยากอ่ะ คงต้องไปหาว่าเวลาคนญี่ปุ่นเล่าเค้าเล่ายังไง อธิบายเหตุการณ์ยังไง คงต้องไปศึกษาหามาฟังแล้วลองเลียนแบบดู >w<;;

การใช้คำโต้ตอบเมื่อเพื่อนมีการตอบโต้กลับมา
ครั้งแรก ไม่ค่อยมีการฟอลโล่คำที่เพื่อนตอบมาเท่าไหร่
เช่น (その人が外国人?)そうだよね /ดูเป็นการตอบรับที่ไม่ค่อยสนใจเพื่อนเลย *นุขอโทษ ToT*
ครั้งที่ 2 สามารถตั้งสติและมีการตอบเพื่อนได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น
เช่น(あ、家で?)うん、家で、


และในส่วนของการเป็นผู้ฟังนั้น

สิ่งที่สังเกตได้ชัดคือ มีการตั้งคำถามกับผู้เล่ามากขึ้น
ในครั้งแรก ส่วนใหญ่จะเป็นแค่การตอบรับ หรือแสดงความรู้สึก

แต่ครั้งที่ 2 มีการถามคำถามกลับไป สลับกับการตอบรับปกติ

*จริง ๆ นุก็ตั้งใจอยากจะถามให้เพื่อนเล่าเรื่องได้ง่ายขึ้น แต่บางทีพอถามไปแล้วก็กลับมาคิดว่ามันทำให้เพื่อนเล่าต่อได้ง่ายขึ้นจริง ๆ หรือว่าไปขัดเพื่อนตอนเล่า ToT*
ทำให้รู้เลยว่า การเป็นผู้ฟังและผู้followที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย และจังหวะกับการ判断ว่าจะพูดหรือไม่พูดแทรกตรงไหนและแทรกอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญ

________________________________________________________

หลังจากที่ได้สลับเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังทั้งสองครั้งแล้วสิ่งที่ได้เรียนรู้คือ...
1. การที่จะทำให้เรื่องที่เราเล่าดูน่าสนใจได้ เราต้องสนุกกับการเล่าและอินกับเรื่องด้วย เมื่อเราสนุกและอิน น้ำเสียงของเราก็จะไปตามเนื้อเรื่อง ทำให้เสียงไม่นิ่งเกินไป มีขึ้นลง น่าติดตามมากขึ้น
2. หลังจากที่เพื่อนตอบรับ ตอบโต้กลับมา ควรมีการตอบกลับก่อนเล่าต่อบ้าง จะทำให้รู้สึกว่าเราใส่ใจผู้ฟังอยู่เช่นกัน ไม่ใช่เล่าอยู่ฝ่ายเดียว
3. เวลาจะตอบโต้ผู้เล่าควรกะจังหวะให้ดี จะทำให้อีกฝ่ายเล่าเรื่องได้ไหลลื่นมากขึ้น และเราก็ได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้นด้วย (ในกรณีที่ตั้งคำถามกลับไป)

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 15 :+: 発表お疲れ様でした

ในที่สุดงานของวิชา App Jap Ling ก็จบไปอีกงาน

นั้นก็คืองานพรีเซ้นต์ค่าาา >///<



รีพอร์ตการพรีเซ้นต์ในครั้งนี้นะคะ

สไลด์หน้าตาเป็นแบบนี้เลยยย







หลังจากที่แก้ไขกันไปหลายรอบ ก็ได้สไลด์ที่ตัวเองพอใจ
1. ตัวอักษรน้อย
2. มีสีสัน และใช้สีช่วยเน้นในจุดที่ต้องการ
3. การเรียงลำดับที่เข้าใจง่ายขึ้น

ทำให้เมื่อเวลาพรีเซ้นต์ นอกจากจะช่วยเป็นอุปกรณ์เสริมให้ผู้ฟัง สนใจสิ่งที่เรานำเสนอเพิ่มขึ้นแล้ว
ยังเป็นสิ่งที่เป็นคล้าย ๆ กับshort noteของเราตอนพูดด้วย
"ลืมว่าจะพูดอะไรต่อก็เหล่ดูสไลด์เอา" 55555555

เพราะฉะนั้นการเลือกคำลงไปในสไลด์จึงมีความสำคัญมากในระดับนึงเลยค่ะ


หลังจากที่สไลด์พร้อม ก็มาเขียนสคริปต์กัน
>o<
ในตอนแรกก็เขียนแบบ พยายามคิดหาลูกเล่นอะไรใส่เข้าไป
...เขียนบทพูดให้เหมือนเวลาอธิบายหรือเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง... เพื่อที่คำพูดจะได้ไม่แข็งเกินไป และน่าฟังมากขึ้น
และเพราะพรีเซ้นต์เป็นคู่
...เขียนบทถามตอบกัน... ตอนแรกตั้งใจจะให้เหมือนรายการโทรทัศน์ที่มีพิธีกรกับแขกรับ แต่ด้วยเวลาที่จำกัดทำให้ไม่สามารถโต้ตอบกันได้มากเท่าไหร่ จึงเป็นการถามคำถามและตอบคำตอบ ไม่ได้มีการโยนบทพูดไปมา

เมื่อได้กิมมิกของการพรีเซ้นต์คู่แล้ว ก็มาฝึกซ้อมกันค่ะ
เป็นการซ้อมคู่แบบไฟลนก้นมาก
เพราะมาซ้อมรวมกันตอนเช้าก่อนพรีเซ้นต์แล้วบ่ายก็พรีเซ้นต์เลย

ตอนซ้อมก็มีการจับเวลา
ครั้งแรก ๆ ยังไม่คล่องเท่าไหร่ ก็ได้ประมาณเวลาที่กำหนดพอดี
แต่!!!!! พอคล่องแล้วมันเร็วมาก จบเร็วมากค่ะ
จึงพยายามลดความเร็วลง และ...เลือกเน้นคำที่ต้องการ...เช่น คำที่เป็นภาษาไทย ให้ช้าลงและชัดขึ้น

และก็มาถึงตอนพรีเซ้นต์!!!!!
เอาตรง ๆ ก็จำไม่ค่อยได้เท่าไหร่ว่าพูดครบตามสคริปต์มั้ย
แต่เนื้อหาที่อยากจะสื่อก็พูดไปครบแล้ว ><
ตอนแรกแอบตื่นเต้นนิดหน่อย
แต่ต้องขอบคุณน้อง ๆ ที่มีส่วนร่วมกับการพรีเซ้นต์ ทำให้หายเกร็งหายตื่นเต้นไปเยอะเลย <3

โดยส่วนตัวแล้วค่อนข้างพอใจกับการพรีเซ้นต์ในครั้งนี้
แบบว่าออกมาดีกว่าที่คิด >w<




สิ่งที่ได้เรียนรู้
  1. ตอนพรีเซ้นต์ ต้องมีสติ!!! ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทั้งความผิดพลาดทางเทคนิคที่เกิดจากคนหรือคอมพิวเตอร์ ถ้าตั้งสติได้ ก็จะสามารถทำให้แก้ปัญหาและพรีเซ้นต์ต่อไปได้
  2. การมีอายคอนแทค ส่วนตัวตอนพรีเซ้นต์เอง นอกจากตอนที่ถามคำถาม รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้สบตากับใคร อาจจะเป็นเพราะจังหวะไม่ตรงกัน แต่ตอนที่เป็นผู้ฟัง แล้วน้อง ๆ พรีเซ้นต์ เมื่อมีอายคอนแทค จะรู้สึกว่าน้องกำลังคุยกับเรา ทำให้รู้สึกว่าต้องตั้งใจฟังต่อ
  3. การพูด แม้จะพูดติดขัดบ้าง แต่ถ้าใส่フィラーให้เป็นธรรมชาติ จะรู้สึกว่า "เห้ย นี่คือการพูดคุยกันปกติ" ไม่ได้รู้สึกว่าผู้พูด พูดไม่คล่อง หรือลืมบทเลย
  4. สไลด์ เป็นสิ่งที่ดึงดูดในอยากรู้เรื่องราวที่จะนำเสนอมากกว่าที่คิด สไลด์ที่มีรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ จะทำให้รู้สึกว่า "เค้าจะมานำเสนอในแนวไหน" ทำให้เกิดความสงสัย และอยากฟังต่อ และการสร้างตารางเปรียบเทียบในสไลด์ ช่วยให้เข้าใจและจดจำได้มากขึ้น
  5. การทำท่าทางบ้างให้เข้ากับเรื่องที่พรีเซ้นต์ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกสนุกสนานมากขึ้น เหมือนได้เปลี่ยนอารมณ์จากการนั่งฟังเฉย ๆ มาดูสิ่งที่มีการเคลื่อนไหว
  6. ถ้ามี おまけ แถมให้และเป็นอะไรที่ไม่เคยรู้มาก่อนและน่าสนใจ จะทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าจดจำ และโดดเด่นขึ้นมา ทำให้การนำเสนอนั้นเป็นที่อะไรที่ 印象に残る มากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561

:+: 14 :+: 「うるじゃん」から学ぼう

สวัสดีค่ะ ครั้งนี้มาเขียนต่อตอนกลางวันล่ะค่ะ 55555

ไปต่อกับรายการที่ 2 ได้เลยค่ะ

ผู้พูดคือ สีเขียวจะเป็นรุ่นพี่เจ้าของเรื่องเล่าโดยตรง และสีฟ้าจะเป็นรุ่นน้องที่อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ไม่ได้เจอเหตุการณ์นั้นโดยตรงค่ะ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น : ในช่วงหนึ่งของการแสดงคอนเสิร์ต เป็นช่วงที่จะเริ่มด้วยการเล่นคีบอร์ดสด แล้วจะมี 2 คนออกมาร้องเพลงคลอดนตรี
แต่!!!
เมื่อเสียงคีบอร์ด(伊野尾)ดังขึ้น "เห้ย อะไรซักอย่างแปลก ๆ นะ" แฟน ๆ ในโดมเริ่มซุบซิบกัน
vocal (山田) คนแรกก็พยายามร้องจนจบท่อนของตน
vocal คนที่ 2 ซึ่งก็คือสีเขียว(薮) ร้องไปได้ครึ่งท่อน ก็ต้องขอให้เริ่มเล่นใหม่

เอ๊ะมันเกิดอะไรขึ้น

ไปฟังคุณสีฟ้ากับคุณสีเขียวกันค่ะ

สามารถฟังได้ที่ ウルジャン文字起こし -DearカウコンでのChikuTaku失敗話ー
และขอบคุณ文字化มา ณ ที่นี้ค่ะ

まぁ僕 
やぁーあれ、ビックリしましたよ本当に
ステージ上に居たんでね <そうだよね> 
色々わかるんですよぉ <はいはい>
まずあのぉ・・・Chikutakuの <うん> 歌始まりの前に <はいはい> 伊野ちゃんの <ありますね> ピアノの <はい> 前奏がある#$# <前奏があるね>
 あそこからもうおかしかったんです <w おかしかった> 
何が違うかってもぅ キーが <キーが> もう1オクターブ違うんだもん
ま、まぁあれは伊野尾のミスではなく <ではないんだよ 本当は>
まぁあの、ちょっとあの、ね、キーボードをあの <そうそう> 移動する時に 設定が変わっちゃった <そうそう> みたいんでなんか
1回なんかねぇ、電源抜いちゃうと設定が <そうそう> 最初に戻っちゃうみたいで、でぇ、もっかい差したらぁ、あの変えなきゃいけないんですけど、そこを‥忘れてたらしいんですよね?
もうw それを知らずにねぇ <そう>
俺と山田でぇ、「おい、伊野尾やったな 伊野尾やったなぁw 」ってw <ヤバいよね> 
ちゃ、俺はぁ、あの、ドラムでぇ <うん>  スタンバイ‥するじゃないですか <うんうんうん> だからぁ、いつも、山が歌い始めるじゃない?そっからスタンバイするんだけども その前からもうキーが違うってのも分ってぇ、あれ?これもしかして、山がぁ喉やられちゃったか何かでぇ、調子が悪いからぁ、急きょ、1オク‥ <ぁ低く> そう低くしたのかなって思ったの ぁっあぁ〜そう、ゃでもそんな事無いよなぁと思って
いや、俺は
でぇ伊野ちゃんも間違える訳ないんですよ だって鍵盤間違えないしぃ そう、だとしたら <何十回もやってるから> そうそう だとしたらぁ、あ、ピアノの設定がおかしいのかなぁ・・とも思ったの だからどっちかなぁー?と思ってたんだけどw 案の定w 
2人ともw <スタンバイして2人ともw> しかも山田が超テンパって「どうする? <w> どうする薮ちゃん?どうするこれ?やる?
(しかもさw) 
やっやるのこれ?」
しかもさ しかも結構離れてるもねw 山と薮ちゃんw 
ぁちゃう そん時はまだぁ <ぁまだ居たのか>
あのぉかん、前奏の途中から出てくる <ぁそっかそっか>
でぇ、自分のスタンバイ位置に着く <ぁそっか じゃまだ2人 <お互い> 一緒に居たんだw> 
でぇ、もう俺が「山田、しょうがない、やろう <w> しょうがない、やろう」<Show must go onですよ本当に>
でも、<そうだったんだ・・・> なんか最初山田も <うん> 頑張ってやってたの <やってたね>
でもちょいちょいズレるの <そーだねズレてたね>
でぇ、まぁ山田のとこが終わって <w>  俺も頑張ってやってたんだけど <やってた> やっぱちょくちょくズレるのよ <ちょいちょいね> <そう> <うん>
「変わらぁない〜♪」 <w> が本当なんだけど <そう>
「変わらぁないぃ〜」
<w> だいぶ <w> だいぶ渋くなっちゃって <メロウな>
俺らがだいぶ <w> 年配になった後にぃ、ちょっとアレンジして歌ってるみたいな感じになっちゃってぇ
さすがにーねぇ、ゃもう、そこまでは伊野尾のミスだと思ってたから俺 <そだよね> と山田も、やり直そっか <うんうん> つって、俺が止めて <うん> やり直そう、やり直そうつって
それさぁ、やり直そうってゆうのは、その、最初っから気づいてたの? ぁ最初っから言おうって言ってたの?
いや、もぅさすがにぃ、ぁお客さんもザワザワてるから <そうしてきたもんね> クスクスとか <してたねぇ>
<ねぇ> でぇー山田もちょっ、テレ笑いみたいになって <してたしてた> 俺も笑っちゃって <うん> 
で俺は伊野尾のミスだと思ってた <うん> からぁ「やり直そう <うんうん> 伊野ちゃん」つったら伊野尾が「違う!違うんだよぉ!」 <w> つってw 
実は伊野ちゃんのミスじゃなかったってゆう 伊野ちゃんもちょっと、テンパってたってゆう そのビックリする 自分が一番ビックリしてるって 「俺が一番ビックリしてるよ。だって、俺間違えてないんだもん!」って <w> 
<w> あれはヤバかった


เริ่มจากการเล่าเรื่องของคุณสีเขียว มีการใช้คำเลียนเสียง 
ザワザワ : เสียงพูดคุยของคนจำนวนมาก
クスクス : การหัวเราะแบบแอบ ๆ

ส่วนการfollowของคุณสีฟ้านั้น ส่วนตัวแล้วชอบ เพราะ

・สิ่งไหนที่พวกเขาเข้าใจกันอยู่แล้ว แต่คิดว่าผู้ฟัง(รายการ)ไม่เข้าก็จะพูดอธิบายเสริมให้ 
เช่น ตอนที่พูดถึงเรื่องจู่ ๆ คีย์ของคีบอร์ดเปลี่ยนไป ก็มาอธิบายเพิ่มให้ว่าทำไมมันถึงเปลี่ยน
・มีการบอกความคิดเห็นของตน และเล่าเรื่องในฝั่งของตนด้วย ทำให้ไม่รู้สึกว่าคุณสีเขียวพูดอยู่คนเดียวมากเกินไป เป็นการจัดรายการร่วมกันของทั้งสองคน
ในส่วนนี้จะคล้าย ๆ กับรายการที่แล้ว คือ นอกจากเจ้าของเรื่องจะเล่าเรื่องของตัวเองแล้ว อีกฝ่ายจะมีการเล่าเรื่องของตัวเองที่มีความเกี่ยวข้องกันด้วย
เช่น
คุณสีเขียวเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้ยินว่าคีย์เพี้ยน คุณสีฟ้าก็เล่าเหตุการณ์ของฝั่งตัวเองในขณะนั้นด้วยว่าเกิดอะไรและคิดอะไร
ของรายการHello! Drive!ที่เขียนไปคราวที่แล้ว เมื่อคนแรกเล่าเรื่องการถูกสะกดจิตของตน อีกฝ่ายก็แชร์ประสบการณ์ถูกสะกดจิตที่เคยโดนให้ฟังด้วย
เป็นต้น

และการตอบรับตอบโต้ในรายกายช่วงที่ตัดมานี้ คือคุณสีฟ้าจะมีการฟอลโล่สนับสนุนด้วยคำเดียวกับที่คุณสีเขียวพูดเยอะ เช่น
 あそこからもうおかしかったんです <w おかしかった>
前奏がある#$#<前奏があるね>
でもちょいちょいズレるの <そーだねズレてたね>
เป็นต้น
ทำให้รู้ว่านี่ก็เป็นวิธีการสื่อให้อีกฝ่ายทราบได้เช่นกันว่าเรากำลังฟังอยู่นะ
โดยการ ถ้าเรามีข้อมูล ความเข้าใจ หรือความเห็นตรงกับที่อีกฝ่ายพูด สามารถใช้การวิธีการนี้ได้



ส่วนเรื่องอื่น ๆ น่าจะเคยเขียนไปแล้ว
客に!นี่เป็นรายการที่ 4 ที่เขียนแล้วยังเจอเรื่องใหม่ ๆ ที่ได้เรียนรู้ววว
เพราะงั้นต้องฟังต่อไปเรื่อย ๆ 5555555
น่าจะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ อีกเยอะเลย ><

ส่วนไลฟ์ที่ต้องจัด ถ้าได้จัดแล้วต้องเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปลองใช้ค่ะ!!!
อยากรู้จังว่าจะออกมาเป็นยังไง >< 
がんばります!!!

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

:+: 13 :+: HELLO! DRIVE! で学ぼう!


สวัสดียามดึกของอีกวันค่ะ 55555
ดึกอีกแล้ว~ (.___.);;

มาในเรื่องคล้าย ๆ กับคราวที่แล้ว
เพิ่มเติมคือจะสังเกตหลาย ๆ อย่างเพิ่มขึ้นค่ะ

เพราะความจริงแล้ว เดือนเมษายน (เดือนนี้!!!) จะต้องไลฟ์ (talk show?) กับเพื่อน ๆ พี่ ๆ ในวง
เลยกำลังศึกษาอยู่ว่า流れของการดำเนินรายการ และการรับส่ง การfollowต่าง ๆ เวลาพูดคุยกันให้คนที่ดูอยู่อีกฝากของจอเข้าใจด้วยต้องทำยังไง

นอกจากจะมีประโยชน์ในการไลฟ์แล้ว
น่าจะทำให้การเล่าเรื่อง ๆ ต่าง ๆ smooth ขึ้น
อีกทั้งน่าจะช่วยทำให้การพูดคุยของตัวเองเป็นธรรมชาติขึ้นด้วยค่ะ

ครั้งนี้จะมาสังเกตจากรายการวิทยุอีกรายการกันค่ะ

รายการแรก เป็นบทสนทนาของผู้หญิง 3 คน มีรุ่นพี่ 1 คน (中島) และอีก 2 คน (大形、野中) เป็นเพื่อนกัน

รายการ HELLO! DRIVE! เทปที่ 123
本日は春分の日 <ふん〜> <春分の日> 祝日です <ふん〜>
春分の日といえば昼と夜の長さが同じ日になると言われたりしてますが厳密には昼の方には14分長い <へー> だって <へー> <そうなんだ> <気にしたことない> <wあたしも 祝日かー> <うーん うーん> 
そしてもう一つ催眠術の日でも <はーい> あるそうで <はい!> 催眠術かけられたことありますか?
え、あのーなんか動画を見て <ん ん> 催眠術かけれるっていうのが普通にユーチューブ <あー> とかにあがってるんですよ <え?> <やってるー> <うん>
それでメンバーで <そうそう> みんなで動画を見て <うんうん> かかる子もいれば、かからない子もみたいな感じ?
ちょっとはやったんですよ前 <そうなんですよ>
え?本当にかかんの?動画で?
はい!お家で全然その動画を見るだけでその時見たのは、あの、目が開かなくなっるやつ <そー> <ふえ〜>
私とかすごいかかりやすいですね <うんうん> 催眠術に <うんうん> もう全然目開かなくなっちゃって
ん、もう動画一個でかかるんですよ <へーすごっ>
だから、その動画でパーンとやったら、その催眠術が解けて開くようになったりとか <へー⁉>︎ して <面白いそれー> はーい そうなんです そうゆうのも <ほー> あったりして簡単にかけられちゃうんですよね <ねー> 催眠術って
なんかの脳の錯覚なんでしょうねでも <こわい> <うん> 私も催眠術をバースデーイベントで <うんうん> かけていただいて <ふん> もうすごいあのかかりやすいタイプなんで <w>
え、何してもらったの?そのバースデ、、、
パクシーを食べれるように <あ〜> してもらったんですね <なるほどね>
そ、パクシーが私の好きなカツ丼の味になるってゆう催眠術をやってもらって <あー> なりました <ほわーい>
カツ丼だった?<すーごーい>
カツ丼でした <ひえー> ん〜すごかった <ふえー?>
不思議だよね
不思議です
私もかけてもらった時にすごい不思議な感覚だった <うーん> な、何してもらったのよ?なんか、あ、そう、男の人を好きになるみたいな <うんうんうんうんうん> 感じ <へー?> でかけてもらって <へー> 本当にドキドキしてくんの <えー?> <へー?>
だから、胸がドキド#@*%って <w> いっててみたいな、かっこいいみたいな <うっそー> 感じになって <すごい>
あの 解かれた瞬間に え?なんだったんだろう今のは <w> <そー> 
けど記憶はあるんだよそのかかってた <うんうん> <ありますね>
そう、ドキドキしてたみたいな <はい>
なんかすごい不思議な気持ちに <じえ〜> なった <えー> 
絶対かかんないタイプだと思います大形 <ああ〜> そんな気がする
かかってなかったもんね動画のも
かからなかったです動画見ても全然
でもベースがうそでしょうって思ってたらかかんないらしいよ <あー>
ちゃんと <ん、そうだ> うん、なんか信じて <はい> うん、なんか身を呆気ないと <へー> かかんないみたい
絶対かかんないなー
<そうですねー>
<w>
<面白いー>
<w>

ฟังจบแล้วอยากไปเรียนรู้เรื่องการสะกดจิตเลยค่ะ ว่าเค้าทำให้ผักชีมีรสชาติเป็นคัตสึด้งได้ยังไง 55555

・สังเกตได้ว่าในรายการนี้เป็นการเล่าเรื่องของกันและกัน ดังนั้น あいづち และการตอบโต้จะถี่มาก ๆ เลยค่ะ มีทุกประโยคบอกเล่าเลย

・การตอบโต้หรือแสดงあいづちออกมา ตามบทสนทนาข้างต้น ไม่ได้รอให้อีกฝ่ายเล่าจบเป็นประโยคก่อนแล้วจึงค่อยแสดงการตอบรับ
เช่น
絶対かかんないなー <そうですねー> <w> <面白いー> <w>
เสมอไป
แต่ว่ามักจะเป็นแบบ...รู้สึกอะไรตอนไหนก็แสดงออกไปเลยมากกว่า
เช่น
それでメンバーで <そうそう> みんなで動画を見て <うんうん> かかる子もいれば、かからない子もみたいな感じ
สีฟ้ากับสีม่วงเป็นเพื่อนกันอยู่แล้ว พอสีฟ้าพูดขึ้นมาแค่ตอนต้น แล้วสีม่วงเข้าใจได้ทันที ก็ตอบรับสนับสนุนออกไปเลย กลางประโยค
ส่วนสีน้ำเงิน เป็นผู้รับข้อมูลใหม่ทั้งหมด พอเริ่มจับข้อมูลได้ ก็แสดงการตอบรับออกไปบ้าง กลางประโยคเลยเช่นกัน

เป็นเหมือนการสนทนาทั่วไป ที่เราเองก็ไม่รู้แน่ชัดว่าอีกฝ่ายจะพูดอะไร จะพูดจบประโยคตอนไหน ดังนั้นเมื่อต้องการแสดงการตอบรับตอนไหนก็แสดง あいづち ออกไปเลย

・และอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นรายการของวัยรุ่นที่ไม่ได้เป็นทางการมาก คำที่ใช้ตอบกลับไปจึงมีหลายคำที่เป็นคำแปลก ๆ เช่น ひえー、ほわーい、じえー เป็นต้น ถึงจะเป็นที่เพิ่งเคยได้ยิน แต่หลาย ๆ คำ จะเดาความหมายได้จากน้ำเสียง

ตัวหนาที่ทำไว้คือสิ่งที่สังเกตได้จากการฟังในครั้งนี้ คือ การตอบกลับสำนวนตอบรับที่อีกฝ่ายพูดมาอีกที
นอกจากคนฟังจะเป็นผู้แสดงการตอบรับอยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้รู้ว่าฟังอยู่แล้ว
ผู้พูดเอง ก่อนจะพูดประโยคถัดไป ในบางครั้งก็จะตอบรับการตอบรับของผู้ฟังก่อนแล้วค่อยเข้าเรื่องต่อ
เช่น
けど記憶はあるんだよそのかかってた <うんうん> <ありますね> そう、ドキドキしてたみたいな 
หลังจากที่สีม่วงสนับสนุนประโยคที่สีน้ำเงินเล่าแล้ว ก่อนก็จะเล่าต่อ สีน้ำเงินก็ตอบรับว่ารับรู้การตอบรับของสีม่วงก่อน

เพราะว่าเป็นการสนทนาของทั้งสองฝ่าย(ผู้พูดและผู้ฟัง) ดังนั้นจึงไม่ใช่แค่ผู้พูดมีหน้าที่พูด ผู้ฟังมีหน้าที่ตอบรับ แต่ทั้งสองฝ่ายจะทำหน้าที่ทั้งสองอย่าง ทั้งเป็นผู้พูดและผู้ตอบรับ บทสนทนาจึงจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และให้ความรู้สึกว่ากำลังคุย"กัน"จริง ๆ

+++คำตอบโต้ใหม่+++
ひえー ใช้แสดงว่าตกใจ แบบตอนนี้ตกใจเลย ฟีลตกใจแบบเข้าบ้านผีสิงแล้วจู่ ๆ XXก็โผล่มา
じえー ใช้แสดงว่าการรับรู้+เสียว ๆ แปลก ๆ
ほわーい ใช้แสดงว่าตกใจแบบwow

**ทั้งนี้ทั้งนั้นน่าจะขึ้นอยู่กับการใช้เสียงของแต่ละครั้งด้วย**

เย่ จบแล้วรายการนึง ยังมีอีกรายการนึงที่ฟังบ่อย ๆ น่าจะเอามาใช้ศึกษาได้เหมือนกัน
แต่ตอนนี้ไม่ไหวแล้วววว ไว้มาต่อนะคะ ><zzZZZ
ฝันดีค่าาา

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

:+: 12 :+: ラジオを聴こう!

การเป็นผู้ฟังที่ดี!!!
นอกจากการตั้งใจฟังแล้ว
เราก็ควรจะมีสารที่ส่งกลับไปให้ผู้พูดฟังด้วยว่า ฟังอยู่นะ
หรือที่เรียกว่า ควรมี あいづち

โดยคราวนี้เราจะลองมาสังเกตจากรายการวิทยุ「安住紳一郎の日曜天国」ของญี่ปุ่นกัน
ผู้ชายคือคนดำเนินรายการหลัก จะเป็นคนอ่านจดหมายจากทางบ้าน และมีการแสดงความเห็นไปด้วย
ส่วนผู้หญิงอีกคน จะเป็นเหมือนผู้ช่วย ช่วยฟัง เป็นผู้ตอบรับบทสนทนาจากอีกฝ่าย และเป็นリアクション担当

ดังนั้น เราจะมาสังเกตあいづちและการตอบรับของผู้หญิงกันค่ะ

・เริ่มจากตอนเลย ผู้ชายจะอ่านชื่อผู้ส่งจดหมายมาแล้วก็ขอบคุณที่ส่งมา ผู้หญิงก็จะฟอลโลว์ 「ありがとうございます」หลังจากที่ผู้ชายพูดแล้ว แล้วผู้ชายจึงค่อยเริ่มอ่านเนื้อความ

หลังจากนั้นก็จะมีการส่งเสียงออกมาเรื่อย ๆ ตามเรื่องราวที่ได้ฟัง
ผู้หญิงคนนี้แทบจะมีบทบาทในทุกประโยคที่ได้ฟัง อย่างน้อยก็ส่งเสียงหัวเราะ

ในช่วงแรกที่เป็นการอ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นของผู้ชมทางบ้าน
จะมีการตอบรับที่ไม่มากนัก จะมีหัวเราะบ้าง หรือตอบรับแสดงรับรู้เช่น はい ほー あー へーซะส่วนใหญ่
แต่ในบางครั้งก็มีคำแสดงความคิดเห็นของตัวออกมาบ้าง เช่น かっこいい

แต่เมื่อเป็นตอนที่เป็นความคิดเห็นที่ผู้ชายเสริมขึ้นมานอกจากเนื้อความในจดหมาย ก็จะมีการตอบโต้กลับไปมาขึ้น เหมือนพูดคุยกับฝ่ายชายอยู่ เพื่อให้รายการสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไหลลื่นนน



ขอยกตัวอย่างจากเทปที่ออกอากาศวันที่ 24 มิถุนายน 2012

เมื่อเริ่มเข้าเรื่อง...
十数年前に幼稚園の先生をしている友人の結婚披露宴に出席した時のことです、〈はい〉友 人が勤めている、幼稚園の、園長先生のスピーチを、出席者全員、この人間違えている、と 思いながら聞いていました、それは友人は幼稚園に 10 年近く勤めていたのでベテランであ ることを強調して、彼女は子供の世話をするプロ、子育てのプロと言いたいところを園長先 生は相当緊張していたらしく、スピーチで、子育てを子作りとずーっと言い〈{笑}〉間違え ていました、新婦の、××さんは、子作りのプロでありますから、〈{笑}〉いや、子作りな ら、〈{笑}〉××さんに任せれば、〈{笑}〉心配ありません、さらには、子作りのことは、私 がしっかりと教え込んでいますので、〈{笑}〉と、〈{笑}〉とんでもなく誤解されそうなフレ ーズのオンパレード、〈{笑}〉結婚披露宴の独特の雰囲気の中で、もちろん出席者からは、 少しも笑いは起こりません、園長先生は、そのまま子作りを連発し続け、〈{笑}〉スピーチ を終え普通に席に戻られ、おそらく隣に座る奥さんから間違えを指摘されたのでしょう、 〈あー〉披露宴が終わるまで項垂れてため息ばかりついていました、〈あー〉披露宴では、 言い間違えたとしても、決して下ネタ寄りにならないように注意したい、と思った話です、
สังเกตได้ว่าการตอบกลับไปของผู้หญิงมีไม่มากนัก แต่มีเรื่อย ๆ ตามอารมณ์ของเนื้อเรื่องที่ได้ฟัง

〈へー〉ふーん、〈男性の園長先生だったんですねー〉そうですね、〈んー〉ま、〈じゃなお さら微妙な空気に{笑いながら}〉んー、〈はいー〉ま、非常に冷え、た感じなるでしょうね ー、〈んー〉そうですよねー、結婚披露宴ね、〈えー〉そうスピーチ間違うと大きいですから ね、〈ねー〉
ส่วนตอนนี้มีการตอบโต้มากขึ้น  มีตั้งแต่ あいづち ง่าย ๆ หรือแม้แต่แสดงความเห็นของตัวเองเป็นประโยค



และอีกตัวอย่างนึงจากเทปของวันที่ 30 มิถุนายน 2013

私の父の弟、××おじさんの話です、〈はい〉お父さんの兄弟、〈うんうん〉××おじさん、 〈うんうん〉××おじさんの娘さんの披露宴でのこと、〈はい〉結婚式が終わり、緊張の糸 がぷっつりと切れた、××おじさんは、〈うん〉披露宴が始まると、周りから勧められるが ままグラスを開け続け、披露宴開始から 30 分も経たないうちにべろんべろんに酔っぱらっ てしまいました、〈えー〉こりゃやばいな絶対何かしでかすな、と、親戚一同がざわつき始 めたとき、〈うん〉××おじさんはいきなりテーブルに飾ってある花を食べ始めました、 〈(笑)〉青ざめながら止める奥さん、を振り払い、花わ[花は/花輪]おいしいんだぞー、 〈{笑}〉菊だってバラだって食べられるんだぞーといいながらむしゃむしゃとバンジーを 食べる××おじさん、〈{笑}〉テーブルの花を半分くらい食べたところで、ついにブチ切れ た××さんの奥さんに髪の毛を引っ張られながら退場〈{笑}〉させられてしまいました、し ばらくして、再入場したころには、何とか周りに迷惑をかけないくらいに、おとなしくなっ ていましたが〈{笑}〉、結局最後の最後まで酔いが醒めず、娘さんからの花束、と、手紙贈 呈の時に、娘からもらった大切な花束を食べようとしている〈{笑}〉そんな××おじさんと、 鬼の形相で{笑いながら}旦那を睨みつけるお嫁さん、××さんのお嫁さんがスポットライ トで照らされた瞬間は横隔膜がちぎれるかと〈{笑}〉思うくらい笑いました、もう 10 年く らい前の出来事ですが{笑いながら}、〈{笑}〉今でも親戚が集まると、話のタネになってい ます、
ตอนฟังเนื้อความจากจดหมาย นอกจากเสียงหัวเราะแล้ว การตอบรับแบบอื่น ๆ ยังไม่เยอะเท่าไหร่ เช่นกัน

〈{笑}〉{笑}ねー、〈ねー〉嫁に行く、娘、〈ん〉さんから〈ねー〉、花束と手紙贈呈 の時に{笑いながら}、〈{笑}〉一番ね、こう何かこう〈ねー〉、感情が、〈へー〉高ぶる、見 てる方もね、〈ねー〉感極まるようなそんなシーンですけど、もらったお父さんが〈{笑}〉 その花を食べようとしているってゆう{笑いながら}、〈{笑}、ま泣き笑いってゆうかもう笑 いですかね〉んー、すばらしいよねー〈ねー、ほんと〉、{笑}もう、〈いーなー〉えさを与 えられた動物のように〈{笑}〉、お父さんありがとう〈まただー〉ってねー、娘さんから〈花 だー〉もらって花もらってもう〈{笑}〉、食べようと{笑いながら}〈{笑}〉、ひどいね、〈{笑}〉 ほんとにひどいと思う、〈{笑}〉これは嫌われるわ、〈{笑}〉{笑}
แต่เมื่อเป็นช่วงที่ผู้ชายแสดงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่าน ผู้หญิงที่มีการตอบรับตอบโต้มากขึ้น ดังเช่นตัวอย่างแรก


การตอบรับตามความรู้สึกต่าง ๆ
・เมื่อรู้สึกว่าเรื่องตลก หรือต้องการขำ ก็จะตอบรับโดยการหัวเราะเหมือนที่เราคุยกับเพื่อนทั่ว ๆ ไป หรือ 笑
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าเรารับรู้แล้ว รับทราบข้อมูลแล้ว : はい、ん、えー、うんうん
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจในสิ่งที่เขาบอกแล้ว : あー
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าเราแปลกใจในเรื่องนั้น ๆ : へー
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า "เป็นแบบนั้นเลยเหรอ" : ほー
・เมื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าเราเห็นด้วยกับอีกฝ่าย : ねー

และยังมีคำอื่น ๆ อีกมากมาย
ซึ่งเรายังคงต้องศึกษากันต่อไป
เพื่อจะได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นได้ถูกต้องและเป็นธรรมชาติมากขึ้น

:+: 11 :+: Storytelling

สวัสดียามดึกค่าาา
...ดึกทุกรอบ เหมือนไม่ดึกอารมณ์อยากเขียนไม่มา 5555
วันนี้จะพูดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนเรื่องการเล่าเรื่องค่ะ

สิ่งสำคัญที่ได้จากเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ การทำให้คนฟังสนุกไปกับเรื่องที่เราเล่า

เอ๊ะ แต่จะทำได้ยังไง???

ลองมาสังเกตจากตัวอย่างการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นกันค่ะ

ก่อนอื่นเลย เริ่มจากวิธีการเล่าเรื่อง

----ต้องเล่าให้เป็นลำดับค่ะ
เพื่อให้คนฟังตามเรื่องเล่าของเราได้ทัน เหมือนเค้าเห็นเหตุการณ์นั้นไปกับเรานะคะ

----แล้วก็เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นเราต้องกำหนด視点หรือมุมมองของผู้เล่าให้ชัดเจนค่ะ
เช่น
あたしがね、ホテルにいた時にロビーソファーにこう座ってたんだけど」
แบบนี้แปลว่าผู้เล่าเรื่องคือตัวเอกของเรื่อง
ขณะเล่าเรื่อง ควรทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าอยู่ข้าง ๆ ตัวเอกตัวนั้นตลอดเรื่อง
ทำได้โดยการ เมื่อมีตัวละครอื่นเข้ามา หรือออกห่างตัวเองให้ใช้ ~てくる หรือ ~ていった เป็นการบอกการเคลื่อนไหวของกริยา เช่น
「目が合った瞬間ね、にこーって顔になって寄ってくるの」

---และอาจจะเพิ่มคำเลียนเสียงเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
เช่น
แทนที่จะบอกว่า เค้าหัวล้าน หรือไม่มีผม ก็อธิบายว่าหัวมันเงาแบบ...「そしたら、彼の頭も、つるつるぴかぴかだったの」แทนจะเห็นภาพมากกว่าใช่มั้ยล่ะ

พอเราเล่าไปเรื่อย ๆ มีเกริ่นเรื่อง เนื้อเรื่อง ไปเรื่อง ๆ ก็จะมาถึงจุคพีคหรือจุดไคลแมกซ์ของเรื่อง
อันนี่เป็นจุดขายละ อาจจะเน้นตรงนี้ให้ดูเด่น หรือดูตื่นตาตื่นใจต่างจากเนื้อเรื่องจุดอื่น ๆ

ทำได้โดย...
----ใช้น้ำเสียงให้ดูตื่นเต้น เหมือนเวลาดูหนัง ฉากตื่นเต้นก็จะมีดนตรีเร็ว ๆ ฟังดูน่าตื่นเต้นประกอบ แต่ตอนเล่าเรื่องจะให้มาเปิดเสียงประกอบก็ไม่ใช่ ก็เลยใช้เสียงของตัวเองนี่แหละทำให้ตื่นเต้นแทน
อาจจะเล่าด้วยน้ำเสียงปกติ มีปรับตามอารมณ์เนื้อเรื่อง
เช่น ช่วงที่เศร้า ก็ทำเสียงนิ่ง ๆ หรือเสียงเศร้า ช่วงที่ร่าเริงก็เล่าด้วยน้ำเสียงสดใจ
และเมื่อมาถึงจุดพีค ก็เน้นเสียงให้ดูมีพลัง หรืออาจจะพูดด้วยเสียงที่ดังกว่าปกติเล็กน้อย

และนอกจากน้ำเสียงที่ช่วยให้คนฟังสนใจเรื่องของเราในจุดที่เราต้องการเน้นแล้ว
----อาจจะมีการถามกลับไปยังคนฟัง หรือที่เรียกว่า metalanguage เพื่อให้คนดูมีการคิดถึงเรื่องที่เล่าและเกิดความสงสัยให้เหตุการณ์ต่อไป
เช่น
「彼、そこで何と言ったと思う?ニコット笑って…そんなこと、気にしなくていいよ、って言ったのよ。」
「それで、次、彼、何したと思う? 彼、自分の髪の毛に手を持っていって、つるって、髪の毛を取ったのよ。」
***สังเกตได้ว่ามักจะเป็นคำถามเชิงว่า คุณคิดว่า....? หรือ ~と思う?

แล้วลองมาสังเกตคำต่าง ๆ ที่คนญี่ปุ่นกันเถอะ

เริ่มจากตอนจะเริ่มเล่า อาจจะมีการใช้คำเพื่อดึงความสนใจของผู้ฟังก่อน
เช่น
+++ ねえ、ねえ、聞いてよ。
+++ あのさ
+++ あのね
+++ えっとね
เป็นต้น


คำลงท้ายที่น่าสนใจ มีดังนี้

+++ คำว่า ね ที่ปกติจะใช้ลงท้ายประโยคเมื่อผู้พูดและฝ่ายตรงข้ามเห็นพ้องตรงกัน
ในการเล่าเรื่อง มีการใช้ ね เหมือนเป็นการตัดประโยคเป็นช่วง ๆ เพื่อให้คนฟังตามเรื่องที่เล่าทัน
เช่น
「おじさんが、新聞こう読んでたんだけど、まあちょっと同じソファーで、広いソファー、いたんだけど。」

+++ คำว่า の ลงท้ายประโยคเพื่อบอกเล่าแบบเน้น
เช่น
「でも、そのおかげで、すごい素敵な彼氏ができた。」
「いつもだったら隠してあった昔のアルバムの写真を、そのまま机の上に出しちゃって、彼がそれを見ちゃった。」

+++ การลงท้ายประโยคด้วย ~てしまいました、~てしまった、~ちゃった・じゃった
เป็นการเพิ่มฟีลลิ่งในการเล่าเรื่อง คล้าย ๆ กับว่า "ทำ...ไปซะแล้ว" จะอินเนอร์แฝงอยู่มากกว่า "ทำ...แล้ว"
ตัวอย่างประโยคก็เช่น
「で、ちょっとよけいに怒っちゃったんだけど、…」


และคำอื่น ๆ ที่ใช้ในประโยคที่ดูน่าสนใจก็มี...

+++ なんと ที่เอาไว้ใช้บอกเหตุการณ์ที่คนฟังไม่น่าจะคาดการณ์มาก่อน
เช่น
「その彼氏、おもむろに頭に、手をやってさ、なんと、髪の毛をとっちゃったんだよ」

+++ つまり ใช้เมื่อต้องการเล่าเรื่องที่พูดไปแล้วซ้ำอีกครั้ง อาจจะเป็นการอธิบายให้ง่ายขึ้น เมื่อเห็นผู้ฟังทำหน้าไม่เข้าใจ
เช่น
คู่รักน่าตาดีคู่หนึ่ง ที่ฝ่ายหญิงปิดบังเรื่อง「本当の顔があって、その顔はすご~いブスなの。つまり、整形して、すごい美人になったのね。」ตนสวยเพราะผ่านมีดหมอมา แต่วันนึงความแตก แต่แฟนหนุ่มหน้าตาดีของเธอก็บอกว่าไม่เป็นไรหรอก พร้อมกับดึงวิกผมของตนออก「だから、彼も、つまり、整形みたいなものよ。」สรุปแล้วหญิงสวยเพราะศัลย์ชายหล่อเพราะวิก...

และสุดท้ายยยย
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการที่ได้เล่าเรื่องคู่กับเพื่อนในห้องเรียนคือ...
ตัวละคร... การเรียกตัวละครควรแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ถ้ามีผู้ชาย 2 คน อาจจะเป็น 男の人 กับ おじさん ไปเลย
เพราะถ้าเป็น男の人ทั้ง 2 คน แม้ว่าจะอธิบายว่า ชายคนที่ดื่มกาแฟ กับ ชายคนที่อ่านหนังสือพิมพ์ อาจจะยาวไป แล้วพอเล่าไปเรื่อย ๆ เมื่อมีการเปลี่ยนกิริยาการกระทำอาจจะทำให้งงได้
"เอ๊ะ เมื่อกี้พูดถึงชายคนไหนนะ???"

ก็ประมาณนี้
เรื่องการใช้คำอาจจะใช้วิธีการท่องจำเอาได้
แต่การใช้น้ำเสียงขึ้นลง ใส่ฟีลลิ่งลงไปเพื่อให้คนฟังอินนี่...น่าจะต้องฝึกอีกนานเลย...
がんばろ!!!

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561

:+: 10 :+: “Youtuber”にヤバい質問


ต่อ ๆ ไหน ๆ ก็เจอเรื่องที่อยากเขียนแล้ววว 55555

อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์
แต่เมื่อกี้เขียนเรื่องการพรีเซ้นต์ที่ว่าควรทำให้ดึงดูด

แล้วก็นึกถึงรายการที่เคยดู
อาจจะไม่ใช่เป็นการยืนพรีเซ้นต์หน้าคนฟัง

แต่

เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Youtuber!!!

นี่เป็นคำแนะนำหนึ่งของเจ้าของช่องยูทูปที่มีคนติดตามและมียอดวิวเยอะมาก ๆ
ชื่อว่า"มุไร"ซังค่ะ



เทคนิคของมุไรซังเพื่อให้ยอดวิวเยอะ หรือคลิปเป็นที่น่าติดตามมี 3 ข้อหลัก ๆ
แต่จะเน้นเฉพาะข้อที่เอามาปรับใช้กับพรีเซ้นต์ของเรา (พรีเซ้นต์หน้าห้อง)ได้ก็แล้วกันนะคะ

นั่นก็คือข้อแรก アットホーム感を出す


 มุไรซังมักจะใช้ที่ทำงาน บริษัทเป็นฉากหลังตอนอัดคลิป


หรือยูทูบเบอร์คนอื่น ๆ ก็มีการอัดคลิปในห้องของตัวเอง
อัดให้เห็นฉากหลังเป็นห้องรก ๆ


การทำให้ฉากหลังเป็นสถานที่เหล่านี้ คือเป็นสถานที่ ๆ หลาย ๆ คนคุ้นเคย
ทำให้รู้สึกเป็นกันเอง รู้สึกใกล้ชิด

(ส่วนถ้าใช้ฉากขาวล้วน มันอาจจะดูโล่ง ๆ ไปนิด ...เค้าว่างี้)


เพื่อให้คนดูหรือคนที่ติดตามชาแนลรู้สึกว่า คนคนนี้เนี่ย คือเพื่อนของเขา


อาจจะเป็นพี่ชายข้างบ้านก็ได้


เพราะアットホーム感 กับ 生活感 เป็นสิ่งสำคัญ
จะทำให้คนที่ดูรู้สึกสนิทชิดเชื้อกับคนในจอ

ลองนึกว่าถ้าเป็นเรา เวลาเราฟังเรื่องของเพื่อนเรา เราจะสนใจมากกว่าเรื่องของใครก็ไม่รู้
เช่น เพื่อนเล่าเรื่องเลิกกับแฟน ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเราเท่าไหร่
แต่เราก็จะสนใจฟังในระดับหนึ่ง เพราะเป็นเรื่องของเพื่อน
แต่ถ้ามีใครก็ไม่รู้มาเล่าเรื่องเค้าเลิกกับแฟนให้เราฟัง เราก็คงไม่สนใจและไม่เก็บมาใส่ใจ

เรื่องนี้อาจจะเอามาปรับใช้กับการพรีเซ้นต์ของเราได้
โดยการพูดเรื่องที่เราและผู้ฟังมีความเกี่ยวข้อง
เพื่อที่จะได้มีความสนใจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย

และการพรีเซ้นต์อาจจะไม่ทำให้เป็นทางการมากไป
ถ้าทางการมากไปอาจจะเหมือนนั่งเรียนหนังสือในห้องประชุมละหลับได้ Zzzz

อาจจะปรับการพูดให้เหมือน เราเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง
เหมือนตอนคุยกับเพื่อน
ภาษาคงไม่ต้องให้เป็นภาษาที่สนิทกันขนาดนั้น
ยังคงความสุภาพ แต่ไม่ให้รู้สึกว่าห่างเหิน

เวลาเราพูดกับเพื่อน เราจะมีการสบตาใช้มั้ย
อาจจะเบลอบ้าง แล้วแต่คน 55555 แต่ก็ต้องมีการมองหน้าเพื่อนบ้างแน่นอน
ดังนั้นตอนพรีเซ้นต์ก็น่าจะทำเหมือนกัน ควรสบตากับคนฟัง
เพื่อให้เขารู้สึกว่า เราคุยกับเขาอยู่จริง ๆ

ก็น่าจะประมาณนี้ *o*
คงต้องลองยืมวิธีนี้ไปใช้ดู

ขอขอบคุณรายการ リトルトーキョーライフ
ตอนของวันที่ 30 มีนาคม 2017 “Youtuber”にヤバい質問
ค่ะ >A<

:+: 9 :+: いい発表とは!!!

การพรีเซ้นต์ที่ดี

ทำยังไง...

ลองถามตัวเองแล้วก็รู้สึกว่ายังได้คำตอบที่ไม่ชัดเจน... เลยลองถามปู่เกิ้ลดู+นึกถึงเรื่องต่าง ๆ ที่ได้เคยเรียนมา 555555555

แล้วก็ได้ประเด็นที่ชอบมาประมาณนี้

  1. ประเด็นที่จะนำเสนอต้องชัดเจน และเหมาะกับผู้ฟัง
  2. การพูด : ต้องมีความมั่นใจ, ต้องมีความชัดเจนกว่าสไลด์
  3. สไลด์ต้องดูง่าย
→ ประเด็นแรกคือ เรื่องที่พูด
ควรมีสาระหลักที่ต้องการพูดและบอกผู้ฟังให้ชัดเจนว่าจะพูดอะไร
เช่นมีเรื่องหลักคือ เรื่อง A แล้วก็อธิบายเรื่องย่อยของA
ไม่ควรหลุดประเด็นเป็น A B C เพราะผู้ฟังอาจจะงงได้
ว่า "นี่จะพูดเรื่องอะไรกันแน่"

แล้วเรื่องที่จะพูดนั้น ต้องเหมาะกับผู้ฟัง
ควรทราบว่าผู้ฟังคือใคร และเขาเหล่านั้นจะสนใจเรื่องที่พูดหรือไม่
(ถ้าเป็นเรื่องที่มีเกี่ยวข้องกับคนคนนั้น คนคนนั้นจะมีความสนใจมากกว่า เรื่องไกลตัวที่ไม่เกี่ยวกับตัวเองเลย)


→ ต่อมาคือการพูด
วิธีการพูดคือต้องพูดด้วยความมั่นใจ
ให้ดูมีความน่าเชื่อถือ และพูดให้น่าสนใจ คนฟังจะได้สนใจอยากฟังต่อ
เช่น อาจจะเล่าเรื่องประกอบ เพื่อให้เห็นภาพ และเป็นที่จดจำได้ง่าย

และเรื่องที่พูดต้องเป็นการพูดอธิบายสิ่งที่อยู่บนสไลด์ "ไม่ใช่การอ่านสไลด์"
ต้องใช้สไลด์เป็นแค่สื่อประกอบที่ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจมากขึ้น และสนใจเรื่องที่เราจะพูดมากขึ้น
อย่าให้สไลด์มาเป็นสื่อหลักแทนคนพูด


→ และประเด็นที่สาม "สไลด์"
ต้องดูง่าย ตัวอักษรไม่เยอะเกินไป
อาจจะมีคำ ๆ เดียวใหญ่ ๆ ไปเลย ถ้าต้องการเน้นคำนั้นให้ติดตาผู้ฟัง
หรืออาจจะใส่เป็นรูปภาพประกอบกับเรื่องที่พูด เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพ

แต่เน้น !!!อย่าให้สไลด์ เด่นกว่าการพูด!!!
(แต่เด่นเท่ากัน พอให้อภัยได้อยู่ 55555 เช่น ถ้าคำจำสไลด์ได้และจำเรื่องที่พูดได้ด้วย ก็โอเค)


+++ที่สำคัญ ต้องอยู่ในเวลาที่กำหนด+++

อย่าพูดเกินเวลา... เพราะถ้ามีกำหนดเวลาไว้แสดงว่าอาจจะมีกิจกรรมอื่นต่อ
ถ้าคนหนึ่งพูดเกิน เวลาก็จะเลทไปเรื่อย ๆ
อาจจะทำให้บางคนไม่สามารถอยู่ได้จนจบ
หรืออาจจะทำให้คนอื่นต้องเสียเวลาเพิ่มได้

...เป็นการรักษาชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือของผู้พูดด้วยว่าเป็นคนมีวินัย ตรงต่อเวลา...

เอ๊ะแล้วจะทำยังไงให้มั่นใจว่าไม่เกินเวลา

ซ้อมค่ะ

ซ้อมพูด แล้วลองจับเวลา

อาจจะลองพูดให้คล่องในระดับก่อน แล้วค่อยลองจับ

ถ้ายาวไปก็ตัดออก ถ้าสั้นเกินไปจริง ๆ ก็ควรเพิ่ม (อาจจะเพิ่มเป็นเรื่องเล่า หรือเป็นการพูดคุย ถามคำถามกับผู้ฟังเป็นต้น)

พอได้ความยาวที่เหมาะสม

ก็ฝึกวนไปค่ะ เพื่อที่เมื่อต้องพูดแล้ว จะได้ไม่ผิดสคริปต์
อาจจะไม่ต้องเป๊ะ 
แต่ต้องไม่หลุดประเด็น และไม่ออกทะเล

❤และที่สำคัญในการทำให้คนฟังสนใจจะฟังเรื่องที่พูด
ตามที่เพื่อนได้พูดในคลาสอาทิตย์ที่แล้ว
...คนเราจะตัดสินว่าตัวเองสนใจสิ่งนั้นหรือไม่ใน 8 วินาทีแรกที่ได้เห็น...

ซึ่งตรงกับหลักการเวลาทำการแสดงเต้น
ที่เคยคุยกับเพื่อนว่า คนส่วนใหญ่จะตัดสินใจดูโชว์นี้มั้ย ก็อยู่ที่ตอนเริ่ม
ถ้าเริ่มแล้วดึงดูด มีความน่าสนใจ ก็จะสนใจดูต่อ
แต่ถ้าตอนต้นเริ่มแล้วเฉย ๆ ความสนใจที่จะดูโชว์นั้น ๆ ก็จะน้อย

ดังนั้น แม้ว่าจุดไคลแมค หรือพ้อยท์หลักของการนำเสนอในครั้งจะอยู่ตอนหลัง ๆ
แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับตอนต้นด้วยนะ ชรุ้ฟฟฟฟ >3<

//หาข้อมูลและเตรียมใจแล้ว วันที่ 9 ที่ต้องพรีเซ้นต์จะออกมาเป็นยังไงเนี่ยยย
อยากฟังของทุกคนด้วยแล้ววว >///<

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561

:+: 8 :+: Present Thai の Taxi 問題 - The สรุป

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเตรียมการนำเสนอเรื่องแท็กซี่ในครั้งนี้

1. ขั้นตอนการเลือกหัวข้อ

  • ต้องรู้ว่าผู้รับสื่อเรื่องนี้คือใคร และต้องคิดว่าเค้าต้องการรับรู้อะไร หรือเรื่องที่จะนำเสนอไปเค้าเอาไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ ใช่มั้ย
  • อาจจะลองเริ่มมองจากตนเองว่า ถ้าตัวเองไปเที่ยวต่างประเทศอยากรู้ข้อมูลอะไร หรือว่าลองคิดว่าถ้าตัวเองไม่ใช่คนไทย ไม่มีความรู้เรื่องที่ไทย มาถึงที่นี่แล้ว จะเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับอะไรบ้าง
  • ควรกำหนดหัวข้อให้ชัดเจนก่อนจะเริ่มทำขั้นตอนต่อไป !!!
    (อย่างน้อยก็ควรตอบตัวเองได้ว่า... ทำหัวข้ออะไร เรื่องนั้นให้คนฟังได้รู้อะไร คนฟังรู้แล้วเกิดประโยชน์จริงมั้ย อย่างไร)
2. ขั้นตอนการทำสื่อในการนำเสนอ
  • จัดลำดับการนำเสนอให้ดี ว่าควรเริ่มอย่างไร อะไรก่อนหลัง
  • ไม่ควรใส่ตัวอักษรลงไปในสไลด์เยอะ ตัวอะไรที่ใส่ลงไปควรอ่านง่าย
  • คำไหนที่เป็น keyword ควรทำให้เด่น อาจจะเพิ่มขนาด หรือใช้สีเหมาะสมช่วยให้สะดุดตามากขึ้น เช่น ข้อห้ามก็ใช้สีแดง เป็นต้น

3. ขั้นตอนการเขียนสคริปส์
  • เขียนให้ตรงกับสไลด์ อะไรkeywordที่ขึ้นบนจอให้ชัดเจนว่าคืออะไร
  • ไม่ควรสั้นเกินไปจนไม่เข้าใจ หรือยาวเวิ่นเว้อเกินไป
  • ควรมีคนช่วยเช็คว่าที่เขียนไป คนฟังเข้าใจตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อหรือไม่
=== ข้อสำคัญที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้คือ ควรชัดเจนว่าคนฟังจะได้อะไรจากการฟังเราพูดในครั้งนี้ ===

ควรนำเสนอเรื่องที่มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง และควรนำเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย และจำได้ เพื่อจะได้นำไปใช้จริง ๆ 

ชรุ๊ฟฟฟ >3<

:+: 8 :+: Present Thai の Taxi 問題 - The สตอรี่

วันนี้จะมาเขียนเรื่องการทำพรีเซนต์ที่ได้ทำไปตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

เริ่มแรกเลยคือการคิด "เรื่องที่ต้องการจะนำเสนอ"
โดยจะเป็นหัวเกี่ยวกับอะไรก็ได้ของไทย
มีกำหนดว่า ผู้รับสารนี้คือคนญี่ปุ่น

ขั้นตอนนี้เหมือนจะง่ายเพราะหัวข้ออิสระ
แต่กว่าจะคิดหัวข้อออกนี่... ยากกว่าที่คิด

อาจจะเป็นเพราะเราเป็นคนที่นี่ ใช้ชีวิตต่างจากคนต่างชาติที่มาเที่ยว
ทำให้นึกไม่ออกว่าควรจะบอกอะไรให้คนต่างชาติทราบดี
(ปกติเวลาเพื่อนมาเที่ยวก็อธิบายหรือให้ข้อมูลตามสิ่งที่เพื่อนถาม หรือสิ่งที่เจอตรงหน้า)

ก็เลยเริ่มคิดจากเรื่องที่ต้องเจอทุกวัน ว่าสิ่งไหนที่เป็นสิ่งที่ต่างที่ตัวเองเจอที่ญี่ปุ่น
คนเราต้องรับประทานอาหารทุกวัน แล้วเวลามีเพื่อนมาไทย ก็มักจะโดนถามว่าคืออะไรอ่ะ
ก็เริ่มออกมาเป็นเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม
...บ่งบอกนิสัยของตัวเองได้ดี... 5555555
แต่พอเริ่มคิดถึงเรื่องกำหนดเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ...
เรื่องนี้ไม่น่าจะพอ อาหารไทย เครื่องดื่มสีแปลก ๆ ไม่น่าจะอธิบายครบในเวลาสั้น ๆ ได้
ถ้าจะต้องเลือกออกมานำเสนอซัก 2-3 อย่างก็ไม่รู้จะเลือกอะไร
ต่างร้านก็ต่างเมนู อันที่เลือกมาอาจจะไม่มีในร้านที่คนที่มาอ่านไปก็ได้...

เรื่องนี้เลยตกไป

พูดคุยกันไปมา ก็เริ่มออกมาเป็นเรื่องการเดินทาง
ถ้าเป็นรถเมล์ ตัวเองก็ไม่มีความรู้พอที่จะมานำเสนอได้...
ก็นึกถึงแท็กซี่กัน...

โอ้วโห้วววว
ปัญหาแท็กซี่นี่เต็มไปหมดเลย
คิดว่าคนต่างชาติน่าจะรับรู้ปัญหานี้ไว้ อย่างน้อยก็จะได้เตรียมใจมา... 5555555
ตอนแรกก็คิดไว้แบบนั้น

แต่เมื่อปรึกษาอาจารย์แล้ว...
อาจารย์บอกว่า การนำเสนอที่ดี คนอ่านควรได้อะไรกลับไปจากการฟังเรื่องนั้น ๆ
ก็คิดว่าเรื่องที่จะนำเสนอก็ทำให้คนฟังได้ข้อมูล... แต่แค่นั้นก็ยังไม่ดีเท่าไหร่...
เลยคิดกันต่อว่าจะยังไงดี
เพราะปัญหาแท็กซี่เนี่ยะะะ เราเองก็ยังแก้ปัญหากันไม่ได้
คนไทยเองก็ยังต้องทำใจยอมรับ
ยกเว้นเรื่องการไม่กดมีเตอร์ อาจจะปฏิเสธได้

จึงได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ว่าให้นำเสนอแบบให้เค้ารับรู้ปัญหา
แล้วก็บอกว่าเราเองทำอะไรกับมันไม่ได้
นอกจากป้องกันตัวเอง หรือแก้ไขปัญหาเมื่อเกิด
แล้วเรา ที่อยู่ที่นี่ แก้ไขรับมือกับปัญหานั้นอย่างไร

จึงได้ข้อสรุปเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับปัญหาแท็กซี่ที่มักเจอ
และการรับมือและแก้ไขที่เราคนไทยทำกัน
เป็นการแนะนำให้คนอ่านรู้ว่า ถ้าสมมุติว่าเจอแบบนี้แล้วทำอย่างไรดี หรือถ้าไม่อยากเจอมีทางเลี่ยงมั้ย

____________________________________________

ในการทำสไลด์นั้น
เริ่มจาก แบลงค์มาก... เริ่มยังไงดี 5555555
แล้วก็เพราะทำด้วยกัน 2 คน การอธิบายภาพสไลด์ที่อยากทำให้อีกคนเข้าใจยากมาก...
เลยแก้ปัญหาโดยการ วาด เอา 5555555 ฝึมือทางศิลปะก็ไม่มี แต่ก็ดีกว่าใช้แต่คำพูด

ทำมารอบแรก ตอนนั้นเพิ่งได้ข้อสรุปแค่ว่าจะนำเสนอปัญหาแท็กซี่ในประเทศไทย
(ยังไม่มีคำแนะนำที่ละเอียด แค่แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้รถอื่น)
สไลด์ก็ออกมามีเรื่องปัญหาที่มี กับรถอื่น และเวลาที่ควรเลี่ยง แบบงง ๆ การเรียงสไลด์ก็งง ๆ
ตอนนี้ให้นึกกลับไปก็งง ๆ นึกไม่ค่อยออก เพราะตอนนั้นก็งง ๆ ว่าจะยังไงดี...

หลังจากได้เรียนเรื่องการทำพาวเวอร์พ้อยท์ที่ดี
(หลังจากคุยกับเพื่อนญี่ปุ่นแล้ว เพิ่งรู้ว่าพวกนางเรียกกันว่า パワポ... ดีค่ะ สั้นดี 55555)
ก็รู้สึกว่านอกจากแก้ไขส่วนที่ตัวเองยังงง ๆ กันอยู่เอง ให้ชัดเจนแล้ว...
ก็ควรลดตัวอักษรลง เน้นเป็นใช้ภาพ แล้วก็เน้นเฉพาะตัวอักษรของคำที่ต้องการเน้น
เพื่อให้คนที่ฟังจำในสิ่งที่ต้องการนำเสนอพ้อยท์นั้น ๆ ได้

อาทิตย์ต่อไป เป็นครั้งแรกที่ได้มาแก้ไขพาวเวอร์พ้อยท์พร้อมกันสองคน 5555555
ก่อนหน้านั้น ทำสนับกัน ผลัดกันแก้มาตลอด
พอได้มาคุยกัน รู้สึกว่าการทำแบบมาทำด้วยกัน ทำให้เข้าใจอีกคนได้มากกว่า
เช่น ตรงนี้ทำแบบนี้เพราะอะไร แล้วต้องการทำให้เป็นไหนต่อ แบบนี้ดีมั้ยหรือคิดว่ายังไง
ครั้งนี้คือPPTเวอร์ชั่นที่ลดตัวอักษรลงแล้ว
แต่...
เนื้อหายังไม่ชัดเจน เพราะถึงรู้ว่าตัวเองอยากนำเสนอเรื่องแท็กซี่และวิธีรับมือแล้ว
ส่วนของการเรียงข้อมูลที่จะนำเสนอยังไม่โอเคเท่าไหร่

และก็ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์อีกครั้ง
ว่าให้เป็นแนะนำวิธีแก้ไขด้วยตนเอง หรือวิธีแก้ปัญหาของเราเอง ว่าเราจะทำอย่างไรบ้างเมื่อเจอสถานการณ์เช่นนั้น
จึงเป็นข้อสรุปของเรื่องที่ต้องการนำเสนอ...ในที่สุดก็ชัดเจนซักที

แต่
แต่
แต่
ยังไม่จบแต่...
ตอนก็ยังไม่รู้จะเรียงข้อมูลออกมายังไงให้เข้าใจง่ายดี...
จบที่วาดรูปอธิบายกันอีกรอบ แล้วก็มีการถกกันนิดหน่อยว่า ตรงนี้งงอยู่นะ คิดว่าทำแบบนี้จะเข้าใจง่ายกว่ามั้ย ทำแบบนี้แล้วยาวไปมั้ย ประมาณนี้
แล้วก็เริ่มลงมือจัดการกับ PPT อีกรอบ...
แต่พอหมดคลาส ก็กลับไปแยกกันทำเหมือนเดิม 55555
พอเริ่มเข้าใจสิ่งที่ตั้งใจจะทำกันแล้ว ถึงจะแยกกันทำ ก็สามารถทำต่อกันได้ไม่ยากเท่าไหร่
อันไหนที่ทำแล้วอีกคนดูแล้วยังเข้าใจยากอยู่ ก็จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้งานที่ดีมากขึ้น
มีการสลับตำแหน่งการวาง เปลี่ยนสีตัวอักษรให้อ่านง่าน หรือให้ดูเด่น สะดุดตาเป็นคำ ๆ โดยเฉพาะ keyword ต่าง ๆ
ในที่สุดก็ได้เป็น PPT แบบล่าสุดที่ออกมา !!!

____________________________________________

และ...หลังจากหัวข้อชัดเจนแล้ว PPTคลอดออกมาแล้ว
ก่อนจะนำเสนอได้ เราต้องมี สคริปต์ !!!!!

นี่คือนั่งมอง PPT หลายวันมาก กว่าจะเริ่มเขียน Script ได้
คิดไม่ออกจริง ๆ ...ตอนเริ่มต้นยากสุดแล้วจริง ๆ
เริ่มยังไงให้คนฟังเข้าใจว่าเราอยากพูดเรื่องอะไร แล้วก็พยายามจะพูดแบบให้คนสนใจ(ต้องทำยังไงดี...)
ยากมาก แงงง๊ ToT

แต่พอมีคำว่า เดดไลน์ มาจ่อก้น มันก็เริ่มออกมาทีละนิด ๆ พอคนนึงคิดไม่ออกแล้ว ก็ให้เพื่อนเขียนต่อบ้าง

ปัญหาระหว่างเขียนคือ...มีอยู่สไลด์นึง...จู่ ๆ ก็ลืมว่าสไลด์นี้ จริง ๆ แล้วตัวเองต้องการจะสื่ออะไรถึงคนฟัง นั่งนึกอยู่นานมาก เพราะไม่ได้เอาหัวเรื่องใส่ลงไปใน PPT เอาแต่คีย์เวิร์ด...
ก็ต้องมานั่งนึกว่าจุดร่วมของคำพวกนี้คืออะไร กว่าจะนึกออก... 5555555
แต่หลังจากนั้นก็เขียนไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีปัญหาอะไร

มันก็เลยยาวแบบนี้ 55555555555

ละเป็นปัญหาที่ยาวเกินไปแทน 5555555
สรุปแล้วก็ต้องมานั่งตัดอะไรที่คิดว่าไม่สำคัญเท่าไหร่ออก ก็ยังยาวอยู่ดี
และก็ต่อไปก็ต้องพยายามรวมประโยค
...ยังไงก็ยังยาวอยู่ดี...
...ตอนนี้ก็ยังยาวเกินอยู่ดี...
ก็คงต้องแก้กันต่อไป

งืออออออ

ขอขอบคุณเพื่อนที่พยายามแก้ไขพรีเซ็นต์ครั้งนี้มาด้วยกันจนถึงตอนนี้
ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยแก้ไข ช่วยแนะนำมาตลอดจนน้องปัญหาแท็กซี่ใกล้คลอดแล้ว
ขอบคุณเพื่อนอีกคนที่ช่วยดูช่วยแก้ไขช่วยอธิบายคำให้อย่างดี

ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ

>A<

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

:+: 7 :+: Bilingual School Time (2)

( ˊ̱˂˃ˋ̱ ) มาเขียนต่อแล้ววววว~ ยามเที่ยงคืน...
และจะเสร็จตอนไหนไม่รู้ 5555555

ความเดิมตอนที่แล้วคือสามารถใช้ภาษาอังกฤษแบบไม่ต้องคิดได้แล้ว

แต่ความจริงแล้วที่ใช้ ๆ ไปถูกไวยากรณ์รึเปล่านั้น...
...จนตอนนี้ก็ยังไม่รู้...
เป็นการใช้แบบสื่อสารกันเข้าใจ เขียนได้ อ่านได้ และทำข้อสอบได้...

และเมื่อขึ้นม.1 ในหนังสือเรียนภาษาอังกฤษ (เปลี่ยนสำนักพิมพ์จากตอนประถม) เริ่มมีการใส่เรื่องไวยากรณ์เข้ามา ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้ว่ามันคือไวยากรณ์ ตัวอย่างบอกให้เปลี่ยนรูปประโยคก็ลอกเปลี่ยนตามเฉย ๆ 55555

ช่วงปลาย ๆ ม.1 ในที่สุดคุณแม่ก็ยอมให้เรียนภาษาญี่ปุ่น!!!
เพิ่งย้ายบ้านแล้วบ้านตรงข้ามเป็นครอบครัวไทย-ญี่ปุ่นพอดี เลยได้เริ่มเรียน แถมวันเสาร์อาทิตย์ก็ไปนั่งเล่นบ้านนั้น น้อง ๆ (ลูกของเซนเซ) เปิดการ์ตูน เปิดละครญี่ปุ่นดูก็นั่งดูแล้วให้น้องแปลให้ 55555

ถือว่าได้ฟังภาษาและดูดสำเนียงไป... 55555

ตอนนั้นภาษาอังกฤษยังใช้ได้ปกติ

แต่ความรู้สึกที่อยากใช้ภาษาญี่ปุ่นได้ก็มีสูงกว่าอยู่ดี...
ถึงอย่างนั่นก็ไม่ยอมพูดภาษาญี่ปุ่นเท่าไหร่ 55555

เป็นประเภทว่า...จนกว่าจะมั่นใจในระดับจะไม่ค่อยยอมพูด...
ไม่ได้ต่างจากตอนภาษาอังกฤษเลย (.___.);;

จุดเปลี่ยนของชีวิตอย่างต่อไป...
เปลี่ยนที่อยู่ค่ะ 55555
ครอบครัวย้ายไปอยู่เชียงใหม่... ตอนม.2 เทอม 2 เลยได้ย้ายไปเรียนที่เชียงใหม่เป็นเวลา 1 เทอม
แต่เป็นภาคภาษาอังกฤษของโรงเรียนปกติเฉย ๆ

วิชาอื่นไม่มีปัญหาเลย ยกเว้นวิทยาศาสตร์ที่เรียนเป็นภาษาไทย 55555
แต่โชคดีที่เนื้อหาเทอมนั้นไม่ยากเท่าไหร่ เลยยังถู ๆ ไถ ๆ ผ่านไปได้...
และสิ่งที่ไม่คาดคิดคือ ตอนย้ายไปแรก ๆ มีอาจารย์ฝรั่งแอบไปชมให้ห้องข้าง ๆ ฟังว่าเด็กใหม่พูดอังกฤษเก่งมาก แกรมม่าไม่ผิดเลย
 แต่ ! ตอนทดสอบเรื่องฟิวเจอร์เทนส์คะแนนไม่ถึงครึ่ง!!!
สรุปก็ต้องสอบอีกรอบ ตอนนั้นก็ท่อง ๆ ไป (ปกติไม่เคยท่อง ใช้ตามเซนส์ล้วน ๆ)
แล้วก็ผ่าน...
หลังจากนั้นก็รู้สึกได้ว่าตัวเองเริ่มคิดมากเรื่องแกรมม่า เวลาจะพูด หลาย ๆ ครั้งจะหยุดคิดก่อนว่าถูกหลักมั้ย กว่าจะพูดได้รู้สึกไม่ธรรมชาติเลย 55555 ทำให้รู้สึกว่าโอกาสที่จะพูด(ไปเรื่อย ๆ แบบสบายใจ)น้อยลง
เว้นแต่ตอนเรียน ๆ ละเบลอ ๆ อยู่แล้วโดนเรียกให้ตอบแบบไม่ทันคิด จะสามารถตอบตามสัญชาตญาณได้
ตอนตอบเสร็จก็ลุ้นไปว่าจะถูกมั้ย...ละก็โชคดีที่ไม่ผิด...

อ่อ ละตอนอยู่เชียงใหม่ ก็เหมือนได้ภาษาใหม่อีกภาษาคือภาษาเหนือ 55555
ใครว่าภาษาเหนือช้า
โน้วววววว
ในห้องเรียนนี่เหมือนแข่งกันพูด
แล้วความต่างกับที่ภูเก็ตคือ นักเรียนที่เชียงใหม่พูดกันด้วยภาษาเหนือ แต่ของภูเก็ตจะพูดกลางแต่สำเนียงใต้ หรือที่เรียก ๆ กันว่าทองแดง :'P
ถึงจะพูดภาษาเหนือไม่ได้ แต่ตอนนั้นก็ฟังออกเกือบหมดนะ เพราะเพื่อนในห้องพูดกันตลอด ถ้าตัวต่อตัวยังพูดกลางด้วย แต่พอไปอยู่เป็นกลุ่มจะพูดเหนือกัน เด็กภาคอื่นมีหน้าที่ฟังให้ออกเท่านั้น 55555
ก็สนุกดี เหมือนได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
 /ที่ตอนนี้ก็ไม่ได้ใช่ และสกิลลดลงแล้ว ตอนกลับไปหาเพื่อนก็แบบ...ต้องตั้งใจฟังมาก ว่าพูดอะไรกัน...

แล้วพอปิดเทอมก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องย้ายกลับมาภูเก็ต
ตอนเรียนก็ไม่มีปัญหาเท่าไหร่
แค่รู้สึกว่าสกิลมันดรอปลงมากกกกก
เหมือนกลับไปเลเวลเท่าตัวเองซักตอนP.5
。゚(゚´Д`゚)゚。

พอรู้สึกว่าภาษาอังกฤษดรอปลงแน่ ๆ ก็มีบ่น ๆ กับเพื่อนสนิทบ้าง
แล้วมีวันนึงไปบ้านเพื่อนสนิท ที่คุณพ่อของเพื่อนเป็นคนอังกฤษ
แล้วมีโอกาสได้ทานข้าวด้วยกัน ก็มีต้องโต้ตอบกับแดดดี้ของเพื่อนบ้าง
พอทานข้าวเสร็จ เพื่อนทักเลย "อิ๊งแกดรอปลงจริง ๆ ด้วย..."

แงงงงงงงง๊

แต่ก็เรียนจบ สอบผ่านทุกวิชาได้เหมือนเดิมนะ
แค่รู้สึกไม่ดีที่ จู่ ๆ ก็ทำสิ่งที่เคยทำได้ไม่ได้ดีเท่าเดิมเฉย ๆ

สิ่งที่จำได้คือ ข่วงนั้นคิดถึงไวยากรณ์ก่อนพูดหลายครั้งมาก
อาจจะเป็นเพราะแบบนั้นเลยพูดน้อยลง เลยทำให้สกิลดรอปลงรึเปล่า
หรือว่าเป็นช่วงเทอมนึงที่ได้พูดได้ฟังอังกฤษน้อยกว่าเดิมเลยลืม ๆ ???
หรือเพราะเรียนญี่ปุ่น และโดยส่วนตัวก็ชอบภาษาญี่ปุ่นมากกว่า ภาษาเลยตี ๆ กัน ไม่ก็ทำให้ได้ใช้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนน้อยลง

เพราะอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน
จนตอนนี้ก็ยังไม่รู้...

และเมื่อขึ้นม.ปลาย ก็ย้ายมาเรียนในโรงเรียนไทยปกติ ในสายศิลป์ญี่ปุ่น
ปัญหาใหม่ที่ไม่คิดว่าจะเจอคือ อ่านเนื้อหาวิทยาศาสตร์ภาษาไทยไม่เข้าใจ 55555
จนต้องไปหาเนื้อหาภาษาอังกฤษมาเทียบกัน 55555 แต่ผ่านไปซักพักก็พอปรับตัวเรื่องตัวภาษาได้นะ เฉพาะภาษาเท่านั้นนน เนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ยังเป็นอะไรที่อ่อนในทุกภาษาที่ต้องเรียน 55555

ในช่วงแรก ๆ จำได้ว่าเรื่องพูดยังไม่มีปัญหา ยังพอใช้ได้
แต่เรื่องไวยากรณ์คือเรียนไม่ได้ คือไม่เข้าใจ ไม่เคยเรียนแบบท่องไวยากรณ์จริงจังขนาดนี้(ยกเว้นที่เขียงใหม่) กลายเป็นว่าเหมือนตัวเองฐานไม่แน่น แล้วโดนอัดเรื่องที่ยากไปเรื่อย ๆ ความรู้สึกไม่อยากเรียน ไม่ชอบ เรียนไม่ได้ก็เพิ่มขึ้นไปอีกจ้าาา 55555
แล้วยิ่งโอกาสได้พูดก็น้อยลงด้วย เลยกลายเป็นว่าเหมือนไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเลย
สรุปแล้วสกิลที่ยังดีที่สุดคือการฟัง... เศร้าแป๊บ 5555555

สรุปของสรุปของสรุป คืออาจจะเป็นเพราะฐานเรื่องไวยากรณ์ไม่แน่นรึเปล่า
พอโดนให้ท่องเยอะ ๆ เลยต่อต้าน
ตอนเด็ก ๆ ไม่เคยรู้สึกว่าต้องท่องขนาดนั้น แต่เพราะต้องใช้ทุกวันเลยใช้ได้เอง
พอไม่มีความรู้สึกว่าอยากเรียนแล้วอะไร ๆ ก็...
งิม.....................

แต่!!!!! สกิลฟังกับพูดแบบไม่สนใจแกรมม่ายังพอขุดได้บ้างนะ
โดยการดูหนัง!!! 5555555
ถ้าเป็นหนังอังกฤษ ช่วงแรก ๆ อาจจะต้องเปิดซับอิ๊ง เพราะหูยังไม่เปิด แต่พอดูไปซัก 3-4 เรื่องก็จะเริ่มพอถูไถได้
อาจจะไม่ได้เท่าเมื่อก่อน เพราะขุดได้ไม่นานก็กลับมาสนใจญี่ปุ่นต่ออยู่ดี
/กลับมาดูละครดูรายการญี่ปุ่นต่อ...
5555555555555555555555555555 (ในเลข 5 มีน้ำตาซ่อนอยู่)

ที่เขียนมาทั้งหมดนี่เพื่อเป็นการเตือนให้ตัวเองรู้ว่าเคยทำได้
และซักวันต้องกลับมาทำได้อีก!!!
คงต้องหาโอกาสให้ได้ใช้ภาษาอังกฤษให้มากกว่านี้
มาดูกันว่าภาษาจะกลับมามั้ยยย

เริ่มจากเปิดละครภาษาอังกฤษดู
ปฏิบัติ!!!


วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

:+: 6 :+: Bilingual School Time♡

จากในคาบเรียน ที่มีการพูดถึงเรื่องการเรียนภาษาที่ 2 อย่างไรจึงจะดี
ได้คำตอบว่าเรียนแบบ i+1 คือเรียนสิ่งที่ยากกว่าความรู้ที่มีไป 1 ระดับ
เพราะถ้ายากกว่านั้น ก็ยากที่จะทำความเข้าใจ
แสดงถึงว่าเนื้อหาต้องเหมาะสมกับผู้เรียน

ทำให้!!!!!

เกิดความสงสัยเกี่ยวกับช่วงเวลาเรียนที่เหมาะสม

ก่อนหน้านี้ก็เคยได้ยินว่าการที่จะมีโอกาสพูดได้แบบเจ้าของภาษา ต้องเริ่มเรียนในช่วงอายุไม่เกิน 12-14 ปี
จึงลองไปหาข้อมูล และพบงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษของคุณเกรียงศักดิ์ สยะนานนท์ และคุณวัฒนา พัดเกตุ
ที่มีการทดสอบภาษาอังกฤษ พบว่าเด็กที่เริ่มเรียนตั้งแต่อนุบาล สามารถทำข้อสอบได้คะแนนดีกว่า คนที่เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ส่วนนักเรียนเริ่มเรียนชั้นป.1และป.5 ได้คะแนนไม่ต่างกันมากนัก คนที่เริ่มป.5สามารถทำคะแนนได้ดีกว่าเพียงเล็กน้อย จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเพราะการสอนด้วย ผู้สอนชั้นป.1อาจจะคิดว่านักเรียนยังเด็กจึงไม่ได้สอนอัดแน่นเท่าในระดับป.5
นี่จึงเป็นอีกงานวิจัย ที่ทำให้เขื่อว่า ภาษาเรียนตั้งแต่อายุน้อยยิ่งดี มากขึ้น

พอลองเทียบกับตัวเองดู...
ถึงแม้ว่าตอนนี้ภาษาอังกฤษจะลืม ๆ ไปแล้ว
แต่ตอนเด็กเคยศึกษาอยู่โรงเรียนไบลิงกวลที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ 70% ภาษาไทย 30% โดยประมาณ
การเรียนในตอนนั้นคือ เริ่มจากย้ายจากโรงเรียนไทยธรรมดาไปเป็น2ภาษาตอนป.3ป.4 อายุก็ประมาณ 9-10 ปี
ด้วยเลเวลภาษาอังกฤษที่แย่มาก
และเพื่อนในห้องก็ดูเก่งภาษาอังกฤษกัน อีกทั้งลูกครึ่งหลายคนมาก ครึ่งอังกฤษ ครึ่งอิตาลี อินเดียแท้ ๆ เลยก็มี เพื่อนอินเดียพูดไทยได้ด้วย เก่งสุด!!! 5555555
ถึงแม้ว่าจะเริ่มจากอายุน้อยยังไง แต่ชั้นป.3-4 เลเวลเพื่อนก็ไปไกลแล้ว... นอกจากเรื่องภาษาที่ต้องตามให้ทัน ยังมีเรื่องการเรียน ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งหมด!!!
พ่อกับแม่จึงคุยกับทางโรงเรียน แล้วจัดคลาสแยกให้
...เรียนคนเดียวไปเลยจ้า~
วิชาที่เป็นภาษาอังกฤษที่เพื่อนเรียนตั้งแต่ป.1-3 เรียนภายใน 3 เดือน!!! กับครูต่างชาติตัวต่อตัว ไม่มีล่ามประกบให้ใด ๆ ทั้งสิ้น
เข้าใจได้ว่า i+1 เป็นเช่นไร... เพราะถ้าไม่เริ่มตั้งแต่แรก คงเรียนไม่ไหว และคงจะกลายเป็นเรียนแบบท่องจำ ท่องแกรมม่า ท่องศัพท์เหมือนเอาไว้ใช้เฉพาะตอนสอบ เหมือนตอนเรียนโรงเรียนไทยทั่วไป...
และนอกจากเรื่องความรู้ทางวิชาการ สกิลภาษาอังกฤษนั้น ก็เกิดขึ้นเองแบบไม่รู้ตัว... เพราะในสถานการณ์นั้น มีกัน2คนกับทีชเชอร์เทอรีน(ชื่ออาจารย์ที่สอนตัวต่อตัวทุกวิชาที่เป็นภาษาอังกฤษ) จะไม่พูดก็ไม่ได้ กลายเป็นว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทุกวัน
แต่ในตอนนั้น สกิลภาษาอังกฤษน่าจะยังมีไม่เยอะ คุยตัวต่อตัวได้ เพราะทีชเชอร์จะเลือกคำให้เข้ากับเรา

ของจริงคือต่อจาก 3 เดิอนนั้น....

เปิดปีการศึกษาใหม่ ต้องไปเรียนรวมกับเพื่อนในห้องแล้วจ้าาาา /รีบมาก...!!! 55555
จำได้ว่าตอนนั้นเรียนเข้าใจในระดับนึง แต่เวลาโดนดุรวมทั้งห้องจะไม่เข้า แล้วไม่ขอให้เพื่อนแปลให้ด้วย 55555
ส่วนเวลาที่ทีชเชอร์พูดอะไรที่ไม่เข้าใจ จะมีคนกระซืบแปลให้เป็นระยะ ๆ
แล้วก็โดยไม่รู้ตัวอีกเช่นกัน..... จู่ ๆ ก็พูดภาษาอังกฤษได้เฉยเลย...
แกรมม่าคืออะไรก็ไม่รู้จัก คือพูด ๆ ไปเลย คือมันพูดได้เอง มันต่อประโยคออกมาเอง (ตอนนี้ทำไม่ได้แล้วแน่ ๆ... เศร้า...)

สรุปว่าพูดอังกฤษได้เฉยเลยค่าาา เย่ ปรบมือ 88888

55555555555

แต่ที่ยากกว่าอังกฤษคือวิทย์...
อันนี้คือวิชาต้มกินที่แท้จริง... ถึงจะบอกว่า i+1 ยังไง วิชานี้สำหรับมิ้นน่าจะเป็น i+1+1 เพราะต้องเจอทั้งศัพท์ใหม่และความรู้ใหม่ไปพร้อม ๆ กัน ช่วงแรก ๆ ที่ศัพท์พื้นฐานในหัวน้อยนี่ ตอนสอบวิชานี้คือท่องไปค่ะ! ท่องทุกคำ 55555
แต่หลัง ๆ เมื่อเริ่มมีศัพท์เยอะขึ้น ก็เริ่มสร้างประโยคตอบเองได้แล้ว ก็ทรมานน้อยลงมาหน่อย ><;;

กลับมาเรื่องภาษาอังกฤษ!!! 55555
การเรียนภาษาที่ 2 ตั้งแต่เด็ก ๆ คิดว่าดีกว่าจริง ๆ โดยเฉพาะในการให้ไปเรียนแบบที่สภาพแวดล้อมเป็นคนที่ใช้นั้น ๆ แบบนี้ เพราะจะต้องใช้แน่ ๆ ไม่ใช้ไม่ได้ เด็กจะซึมซับและก็อปปี้เองโดยไม่รู้ตัว /เห็นได้จากการที่ไม่เคยเรียนแกรมม่าแต่สามารถอยู่ได้ 55555
และในโรงเรียนแบบนี้ นอกจากต้องพูดกับทีชเชอร์แล้ว บางครั้งเด็กยังต้องเป็นล่ามให้อาจารย์บางคนกับทีชเชอร์ด้วย เป็นการสร้างความมั่นใจและบอกเด็กเป็นนัย ๆ ว่าภาษาที่เรียนนั้นมีประโยชน์
อีกอย่างคือ ในสังคมเพื่อนกันเอง มีการใช้อังกฤษสลับกับไทย
ซึ่งจริง ๆ จะว่าเป็นสิ่งที่ดีก็ไม่ถูกซะทีเดียว /เคยติดเอาวิธีพูดอิ๊งสลับไทยมาใช้ที่บ้านละโดนคุณแม่ดุด้วย5555/
แต่มันทำให้เราได้คุ้นเคยกับภาษาที่ 2 อยู่ตลอดเวลา
เช่น เวลาคุยกับเพื่อนที่ได้ภาษาไทย แต่เวลาอุทานจะใช้คำอุทานของภาษาอังกฤษเช่น ouch! OMG  กลายเป็นปฏิกริยาอัตโนมัต คำที่ใช้เรียกชื่อวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษ  เช่น แมธ(math)  ซายแอน(scient) คำอื่น ๆ เช่น ไปกินlunchกัน เป็นต้น
คำพวกนี้เป็นคำที่ได้ใช้ทุกวัน
รวมทั้งเพื่อนหลาย ๆ คน ไม่ใช่เนทีฟไทย เวลาเพื่อนนึกภาษาไทยไม่ออกเลย จะกลายเป็นว่าต้องคุยภาษาอังกฤษกัน

ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุกวันไม่ต่างกับภาษาไทย

คิดว่าน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เด็กที่เรียนโรงเรียน 2 ภาษาแบบนี้ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้แบบไม่ต้องคิดนาน และใช้ได้เลย แม้ว่าที่บ้านจะสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยก็ตาม

เย่~ พอ!!! พอก่อน
ลองได้นึกถึงเรื่องของตัวเองเมื่อก่อนแล้วสนุก ;___; และคิดถึงเพื่อน ๆ แงงงง
อันนี้คือจุดขึ้นของการเรียนภาษาที่ 2 ของเด็กไบลิงกวล
เดี๋ยวคราวหน้าจะมาเขียนจุดที่ทำให้ภาษาอังกฤษของมิ้นหายไป 55555
มันก็ยังใช้ได้แหละ แต่เมื่อเทียบกับตอนเด็ก ๆ แล้ว ตอนนั้นคล่องกว่าเยอะ ฮืออออ

บุ๊บบุ้ยค่าาาา

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

:+: 5 :+: 会いたみが深い

อะเคค อันนี้เป็นบลอกที่ไม่ได้เกี่ยวกับบทเรียน แต่อยากจะบันทึกภาษาญี่ปุ่นที่เจอตอนไปแลกเปลี่ยนไว้

ก่อนอื่นคือต้องเล่าก่อนว่า...
ตอนไปแลกเปลี่ยน ได้เข้าร่วมชมรมเต้นโคฟเวอร์ของม.จูโอ
ซึ่งเป็นชมรมเล็ก ๆ อาจจะฟีลเดียวกับวงเต้นโคฟเวอร์ของไทย
มีสมาชิกไม่เยอะ ทุกคนค่อนข้างสนิทและรักในการเม้ามอย
.
.
.
และแน่นอนว่า คนญี่ปุ่นล้วน ๆ ไม่มีต่างชาติผสม...
พอเข้าไปเลยกลายเป็นคนต่างชาติคนแรก
เพื่อน ๆ น่ารักมากกก ทุกคนเห็นว่าพอเข้าใจภาษาญี่ปุ่น เลยใช้ภาษาญี่ปุ่นแบบปกติที่คุยกันจริง ๆ
おかげで!!!
ทำให้ได้เห็นความจริง!!!
ที่เรียนมาคืออะไรเหรอออ 5555555
เวลาคุยตัวต่อตัวกันก็ไม่มีปัญหา แต่เวลาทุกคนคุยกลุ่มกันคือจะทันบ้างไม่ทันบ้าง
เรื่องไหนไม่เข้าใจก็ต้องปล่อยเบลอไป...
แต่สิ่งที่ได้มาคือ ช่วงที่เข้าชมรม จะเป็นช่วงที่สกิลภาษาญี่ปุ่นขึ้นไวมาก (แลกมากับความทรมานเบา ๆ 5 5555)
อีกอย่างคือได้ศัพท์ที่วัยรุ่นใช้กันจริง ๆ

และได้เจอรูปประโยคแบบนี้

「形容詞」み  + が + 深い

ที่ถึงกับจำกลับมาถามอาจารย์ที่ม.โทโยเอวะ ว่า "อาจารย์รู้จักมั้ยคะ"

อาจารย์ทำหน้างงใส่
แล้วถึงกับร่ายใส่ว่า ก็รู้หลักแกรมม่าไม่ใช่เหรอ ว่าแบบนี้มันไม่ถูก แบบนี้ต่อกับอันนี้ไม่มีนะ 5555555

หลังจากได้ยินเพื่อนหลาย ๆ รอบ ก็เริ่มจับได้ว่าประโยคนี้แปลว่าอะไร
ถ้าแปลเป็นไทย ก็น่าจะได้ความประมาณว่า "...มาก โคตร..." ประมาณนี้

และเมื่อกี้ลองไปเสิร์จว่า みが深い จากทวิตเตอร์ ก็ว่ามีการใช้คำว่า
嬉しみが深い
エモみが深い
暇みが深い
良さみが深い
ヤバみが深い
เป็นต้น

และในช่วงหลัง ๆ นี้ในกรุ๊ปไลน์วงก็มีการใช้...
「嬉しみ!」
「会いたみが!」
「踊りたみが!」
「行きたみ!」
「ヤバみー!」
「エモみ!」
แบบนี้แล้ว...


ภาษาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
ถ้าเราไม่ได้อยู่ตรงนั้น อาจจะตามไม่ทัน

แม้ว่าภาษาแบบนี้ถึงไม่รู้ เราก็ยังสื่อสารด้วยภาษาญี่ปุ่นตามหลักในหนังสือที่เราได้เรียนได้

แต่ถ้ามีโอกาสได้รู้จักคำศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้
ก็จะทำให้เรารู้จักภาษาที่คนญี่ปุ่นใช้กันจริง ๆ มากขึ้น

เราอาจจะไม่ได้ใช้ศัพท์เหล่านี้เอง
แต่อาจจะมีคนพูดกับเรา เราจะได้เข้าใจ และต่อบทสนทนาได้ไหลลื่นต่อไป เย่ >w<

:+: 4 :+: 説明文

2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้เรียนเรื่องการเขียน 説明文
ผ่านการเขียนบอกทางจากช่องนนทรีไปตึกBRK
/จริง ๆ เกือบจะเขียนแนะนำให้ไปแทกซี่แล้ว...แต่ดักคอไว้ทัน 55555

นอกจากปัญหาเรื่องผิดแกรมม่าหรือพิมพ์ผิดแล้ว
การเขียนโดยนึกถึงคนอื่น คิดว่าตัวเองค่อนข้างคิดถึงผู้อ่านมากในระดับนึง
อาจจะเป็นเพราะอยู่กับเพื่อนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทยบ่อย
เป็นการฝึกตัวเองให้นึกถึงอีกฝ่าย ตลอดเวลาที่พูดอยู่แล้ว
ถ้าพูดยากไป หรือพูดเป็นธรรมชาติของเรา(ซึ่งจริง ๆ แล้วผิดหลักภาษา)มากไป เพื่อนก็จะไม่เข้าใจ
ตอนที่เขียนแนะนำทาง 
---อย่างแรก เลยพยายามนึกว่าถ้าเราเป็นคนอ่าน เราอยากอ่านแบบไหน
คำตอบคือ "ไม่อยากอ่านยาว ๆ" และ "เข้าใจง่าย"
เลยเลือกที่จะเขียนเป็นข้อ ๆ เพราะรู้สึกว่าจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และไม่ติดกันจนรู้สึกว่ายาวเกินไป
---อีกอย่างคือ ลองคิดว่าถ้าเราไม่รู้ทางเลย อ่านแบบนี้จะเข้าใจหรือเปล่า
เขียนไป และกลับไปอ่านบรรทัดบนที่เขียนไปแล้วอีกครั้ง และอีกครั้ง...

จากคอมเม้นที่เพื่อน ๆ และน้อง ๆ คอมเม้นมาให้
ก็รู้สึกโอเค ดูหลาย ๆ คนจะชอบที่เขียนเป็นข้อ ๆ >///<
และมีคอมเม้นเรื่องชื่อสถานี ...ตอนแรกเขียนเป็นคาตาคานะไป
แล้วก็ได้รับคำแนะนำดี ๆ ซึ่งตอนเขียนลืมนึกถึงข้อนี้ไป
ว่า "ชื่อสถานี เขียนเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยก็ดีนะ"

พอลองนึกดูแล้ว ถ้าเราเขียนภาษาอังกฤษไว้
คนอ่านก็สามารถเทียบกับป้ายที่สถานีได้เลย
เป็นการป้องกันการอ่านป้ายผิด แล้วหลงไปผิดสถานี (.___.);;

ตอนที่เขียนรอบสองเลยเพิ่มลงไปแว้วววว >w<

แล้วก็ลองเปลี่ยนเป็นใช้รูป ます ดู เพราะเห็นจากตัวอย่างว่าคนญี่ปุ่นก็ใช้
ไม่ต้องแบบ ください รัว ๆ ก็ได้

แต่
.
.
.
รอบสองพอแก้เป็น ます แล้ว อ่านซ้ำก็เลยแก้คำเชื่อมตรงอื่นไปด้วย
แล้วใช้ そしてบ่อยมากกกกกกกกก
เหตุผมนึงอาจจะเป็นเพราะคำเชื่อมในหัวน้อย คำนี้เลยออกมาก่อน TOT
และ
ออกมาเยอะเกินไป....

คราวหลังน่าจะต้องสังเกตการใช้ そして ของตัวเองให้มากกว่านี้
เพราะปกติไม่เคยจับได้เลยว่าตัวเองใช้ตอนไหน และใช้เยอะไปมั้ยยยย

ถ้ารู้ตัวว่าใช้เยอะแบบนี้ทุกรอบ อาจจะต้องหาวิธีลดการใช้ลง
อาจจะต้องฝึก หรือหาคำอื่นมาสลับ ๆ กันใช้บ้าง

แต่อย่างไรก็ตามคงต้องสังเกตตัวเองต่อไปอีกนิดดดด ฮึบบบ

____________________________________________________

สรุปแล้วเรื่องที่สังเกตตัวเองได้จากการเขียน 説明文 คือ
คิดว่าตัวเองน่าจะมีปัญหาเรื่องคำศัพท์และคำช่วย(และอาจจะคำเชื่อมด้วย...) มากกว่าการเขียน "説明文"

วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

:+: 3 :+: 分かれ道


 จากที่ไปสอบถามHi Native ว่า 3แยก ภาษาญี่ปุ่นพูดว่าอะไร !!???

ได้รับคำตอบว่า...


• ถ้ามีลักษณะแบบนี้ จะเรียกว่า 丁字路 หรือ T字路 ตามลักษณะที่คล้ายตัว T

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQQUgzEgyXkc0gJEryeG29W5EVanVN3YPVkRvoMgwrRzezTVmBS)



• ถ้ามีลักษณ์แบบนี้ จะเรียกว่า Y字路 ตามลักษณะเช่นกัน

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTgLQi9T_-NaFkFYn21L1ThvxBTRw8bAl2fDIJ-pEzYay3FkpFh)



และหลังจากได้ไปศึกษาเพิ่มเติม 4แยกที่มีลักษณะเป็นตัวX อาจจะมีคนเรียกว่าX字路 แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายทัวไป ทำให้คิดคาดเดาได้ว่า ในอนาคตอาจจะมีถนนที่ใช้ตัวอักษรอธิบายลักษณ์ อาจจะเป็นเพราะลักษณะของตัวอักษร เป็นสิ่งที่เมื่อกล่าวขึ้นแล้วคนทั่วไปเห็นภาพลักษณะของสิ่งนั้น ๆ ได้ชัดเจน~

ไว้ถ้าเจอข้อมูลอะไรน่าสนใจเพิ่ม จะมาอัพเพิ่มละกันน้า~ บะบายยย♡

วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561

:+: 2 :+: 自己紹介

งานแรก อ.ให้แนะนำตัวกับเพื่อน ๆ และน้อง ๆ
(situation คือ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน <-- อันนี้ยากจุง เห็นหน้าก็แบบ...นี่เรารู้จักกันมาปีที่เท่าไหร่แล้ว555)

:+: เสียงที่อัดมา :+:
皆さんこんにちは
(ชื่อ)・(นามสกุล)と申します。ニックネームはミントです。ミントと呼んでください。
類を友を呼ぶについて研究しています。このことわざを聞いたことがあります?
性格とか好みが似てる人のお友達は結構いると思いませんか?みんなは。
だいたい親しい友達とかは自分と似てる考えを持たないとそんなに えっと 仲良くなれないという意味で、
それは本当かどうかを研究しています。
そしてストレス解消はまぁカラオケ好きなんで、カラオケ行くことです。
はい、以上です。ありがとうございました。

:+: 内省 :+:
皆さんこんにちは
(ชื่อ)・(นามสกุล)と申します。ニックネームはミントです。ミントと呼んでください。
→อ.บอกว่าคนไทยจะมีพูดถึงชื่อเล่น
は友を呼ぶについて研究しています。このことわざ(เป็นโคโตวาสะจริง ๆ รึเปล่า ตอนพูดก็ไม่ค่อยแน่ใจ แต่ตื่นเต้นมาก เลยหลุดคำนี้ออกมา ToT)を聞いたことがあります?
性格とか好みが(の?)似てる人のお友達が結構いると思いませんか?みんなは。
だいたい親しい友達とかは自分と似てる考えを持たないとそんなにえっと仲良くなれないという意味で、
それは本当かどうかを研究しています。
そしてストレス解消はまぁカラオケ好きなんで、カラオケ行くことです。
はい、以上です。ありがとうございました。→situationนี้ควรจบด้วย よろしくお願いします。



気付いたこと
・การ内省ยากกว่าที่คิดมาก เพราะถึงจะมาตรวจซ้ำก็ยังไม่แน่ใจว่าถูกต้องตามแกรมม่าจริง ๆ มั้ย หรือถึงจะถูกแต่เป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติรึเปล่า... →แก้ไขได้โดยให้เพื่อนญี่ปุ่นเช็คให้อีกที 55555
・เป็นคนที่พูดประโยคยาว ๆ แล้วจะงงตัวเอง และถ้ายิ่งตื่นเต้นจะลืมว่าก่อนหน้านี้พูดอะไรไปแล้ว ทำให้บางครั้งก็พูดซ้ำ ๆ หรือคำฟุ้มเฟื่อยออกไป →ต้องมีสติมากกว่านี้ และควรหาโอกาสพูดภาษาญี่ปุ่นให้บ่อยขึ้น จะได้ชินในการใช้มากขึ้น
・ใช้ フィラーน้อยกว่าที่คิด