วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

:+: 4 :+: 説明文

2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้เรียนเรื่องการเขียน 説明文
ผ่านการเขียนบอกทางจากช่องนนทรีไปตึกBRK
/จริง ๆ เกือบจะเขียนแนะนำให้ไปแทกซี่แล้ว...แต่ดักคอไว้ทัน 55555

นอกจากปัญหาเรื่องผิดแกรมม่าหรือพิมพ์ผิดแล้ว
การเขียนโดยนึกถึงคนอื่น คิดว่าตัวเองค่อนข้างคิดถึงผู้อ่านมากในระดับนึง
อาจจะเป็นเพราะอยู่กับเพื่อนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทยบ่อย
เป็นการฝึกตัวเองให้นึกถึงอีกฝ่าย ตลอดเวลาที่พูดอยู่แล้ว
ถ้าพูดยากไป หรือพูดเป็นธรรมชาติของเรา(ซึ่งจริง ๆ แล้วผิดหลักภาษา)มากไป เพื่อนก็จะไม่เข้าใจ
ตอนที่เขียนแนะนำทาง 
---อย่างแรก เลยพยายามนึกว่าถ้าเราเป็นคนอ่าน เราอยากอ่านแบบไหน
คำตอบคือ "ไม่อยากอ่านยาว ๆ" และ "เข้าใจง่าย"
เลยเลือกที่จะเขียนเป็นข้อ ๆ เพราะรู้สึกว่าจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และไม่ติดกันจนรู้สึกว่ายาวเกินไป
---อีกอย่างคือ ลองคิดว่าถ้าเราไม่รู้ทางเลย อ่านแบบนี้จะเข้าใจหรือเปล่า
เขียนไป และกลับไปอ่านบรรทัดบนที่เขียนไปแล้วอีกครั้ง และอีกครั้ง...

จากคอมเม้นที่เพื่อน ๆ และน้อง ๆ คอมเม้นมาให้
ก็รู้สึกโอเค ดูหลาย ๆ คนจะชอบที่เขียนเป็นข้อ ๆ >///<
และมีคอมเม้นเรื่องชื่อสถานี ...ตอนแรกเขียนเป็นคาตาคานะไป
แล้วก็ได้รับคำแนะนำดี ๆ ซึ่งตอนเขียนลืมนึกถึงข้อนี้ไป
ว่า "ชื่อสถานี เขียนเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยก็ดีนะ"

พอลองนึกดูแล้ว ถ้าเราเขียนภาษาอังกฤษไว้
คนอ่านก็สามารถเทียบกับป้ายที่สถานีได้เลย
เป็นการป้องกันการอ่านป้ายผิด แล้วหลงไปผิดสถานี (.___.);;

ตอนที่เขียนรอบสองเลยเพิ่มลงไปแว้วววว >w<

แล้วก็ลองเปลี่ยนเป็นใช้รูป ます ดู เพราะเห็นจากตัวอย่างว่าคนญี่ปุ่นก็ใช้
ไม่ต้องแบบ ください รัว ๆ ก็ได้

แต่
.
.
.
รอบสองพอแก้เป็น ます แล้ว อ่านซ้ำก็เลยแก้คำเชื่อมตรงอื่นไปด้วย
แล้วใช้ そしてบ่อยมากกกกกกกกก
เหตุผมนึงอาจจะเป็นเพราะคำเชื่อมในหัวน้อย คำนี้เลยออกมาก่อน TOT
และ
ออกมาเยอะเกินไป....

คราวหลังน่าจะต้องสังเกตการใช้ そして ของตัวเองให้มากกว่านี้
เพราะปกติไม่เคยจับได้เลยว่าตัวเองใช้ตอนไหน และใช้เยอะไปมั้ยยยย

ถ้ารู้ตัวว่าใช้เยอะแบบนี้ทุกรอบ อาจจะต้องหาวิธีลดการใช้ลง
อาจจะต้องฝึก หรือหาคำอื่นมาสลับ ๆ กันใช้บ้าง

แต่อย่างไรก็ตามคงต้องสังเกตตัวเองต่อไปอีกนิดดดด ฮึบบบ

____________________________________________________

สรุปแล้วเรื่องที่สังเกตตัวเองได้จากการเขียน 説明文 คือ
คิดว่าตัวเองน่าจะมีปัญหาเรื่องคำศัพท์และคำช่วย(และอาจจะคำเชื่อมด้วย...) มากกว่าการเขียน "説明文"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น