วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

:+: 6 :+: Bilingual School Time♡

จากในคาบเรียน ที่มีการพูดถึงเรื่องการเรียนภาษาที่ 2 อย่างไรจึงจะดี
ได้คำตอบว่าเรียนแบบ i+1 คือเรียนสิ่งที่ยากกว่าความรู้ที่มีไป 1 ระดับ
เพราะถ้ายากกว่านั้น ก็ยากที่จะทำความเข้าใจ
แสดงถึงว่าเนื้อหาต้องเหมาะสมกับผู้เรียน

ทำให้!!!!!

เกิดความสงสัยเกี่ยวกับช่วงเวลาเรียนที่เหมาะสม

ก่อนหน้านี้ก็เคยได้ยินว่าการที่จะมีโอกาสพูดได้แบบเจ้าของภาษา ต้องเริ่มเรียนในช่วงอายุไม่เกิน 12-14 ปี
จึงลองไปหาข้อมูล และพบงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษของคุณเกรียงศักดิ์ สยะนานนท์ และคุณวัฒนา พัดเกตุ
ที่มีการทดสอบภาษาอังกฤษ พบว่าเด็กที่เริ่มเรียนตั้งแต่อนุบาล สามารถทำข้อสอบได้คะแนนดีกว่า คนที่เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ส่วนนักเรียนเริ่มเรียนชั้นป.1และป.5 ได้คะแนนไม่ต่างกันมากนัก คนที่เริ่มป.5สามารถทำคะแนนได้ดีกว่าเพียงเล็กน้อย จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเพราะการสอนด้วย ผู้สอนชั้นป.1อาจจะคิดว่านักเรียนยังเด็กจึงไม่ได้สอนอัดแน่นเท่าในระดับป.5
นี่จึงเป็นอีกงานวิจัย ที่ทำให้เขื่อว่า ภาษาเรียนตั้งแต่อายุน้อยยิ่งดี มากขึ้น

พอลองเทียบกับตัวเองดู...
ถึงแม้ว่าตอนนี้ภาษาอังกฤษจะลืม ๆ ไปแล้ว
แต่ตอนเด็กเคยศึกษาอยู่โรงเรียนไบลิงกวลที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ 70% ภาษาไทย 30% โดยประมาณ
การเรียนในตอนนั้นคือ เริ่มจากย้ายจากโรงเรียนไทยธรรมดาไปเป็น2ภาษาตอนป.3ป.4 อายุก็ประมาณ 9-10 ปี
ด้วยเลเวลภาษาอังกฤษที่แย่มาก
และเพื่อนในห้องก็ดูเก่งภาษาอังกฤษกัน อีกทั้งลูกครึ่งหลายคนมาก ครึ่งอังกฤษ ครึ่งอิตาลี อินเดียแท้ ๆ เลยก็มี เพื่อนอินเดียพูดไทยได้ด้วย เก่งสุด!!! 5555555
ถึงแม้ว่าจะเริ่มจากอายุน้อยยังไง แต่ชั้นป.3-4 เลเวลเพื่อนก็ไปไกลแล้ว... นอกจากเรื่องภาษาที่ต้องตามให้ทัน ยังมีเรื่องการเรียน ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งหมด!!!
พ่อกับแม่จึงคุยกับทางโรงเรียน แล้วจัดคลาสแยกให้
...เรียนคนเดียวไปเลยจ้า~
วิชาที่เป็นภาษาอังกฤษที่เพื่อนเรียนตั้งแต่ป.1-3 เรียนภายใน 3 เดือน!!! กับครูต่างชาติตัวต่อตัว ไม่มีล่ามประกบให้ใด ๆ ทั้งสิ้น
เข้าใจได้ว่า i+1 เป็นเช่นไร... เพราะถ้าไม่เริ่มตั้งแต่แรก คงเรียนไม่ไหว และคงจะกลายเป็นเรียนแบบท่องจำ ท่องแกรมม่า ท่องศัพท์เหมือนเอาไว้ใช้เฉพาะตอนสอบ เหมือนตอนเรียนโรงเรียนไทยทั่วไป...
และนอกจากเรื่องความรู้ทางวิชาการ สกิลภาษาอังกฤษนั้น ก็เกิดขึ้นเองแบบไม่รู้ตัว... เพราะในสถานการณ์นั้น มีกัน2คนกับทีชเชอร์เทอรีน(ชื่ออาจารย์ที่สอนตัวต่อตัวทุกวิชาที่เป็นภาษาอังกฤษ) จะไม่พูดก็ไม่ได้ กลายเป็นว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทุกวัน
แต่ในตอนนั้น สกิลภาษาอังกฤษน่าจะยังมีไม่เยอะ คุยตัวต่อตัวได้ เพราะทีชเชอร์จะเลือกคำให้เข้ากับเรา

ของจริงคือต่อจาก 3 เดิอนนั้น....

เปิดปีการศึกษาใหม่ ต้องไปเรียนรวมกับเพื่อนในห้องแล้วจ้าาาา /รีบมาก...!!! 55555
จำได้ว่าตอนนั้นเรียนเข้าใจในระดับนึง แต่เวลาโดนดุรวมทั้งห้องจะไม่เข้า แล้วไม่ขอให้เพื่อนแปลให้ด้วย 55555
ส่วนเวลาที่ทีชเชอร์พูดอะไรที่ไม่เข้าใจ จะมีคนกระซืบแปลให้เป็นระยะ ๆ
แล้วก็โดยไม่รู้ตัวอีกเช่นกัน..... จู่ ๆ ก็พูดภาษาอังกฤษได้เฉยเลย...
แกรมม่าคืออะไรก็ไม่รู้จัก คือพูด ๆ ไปเลย คือมันพูดได้เอง มันต่อประโยคออกมาเอง (ตอนนี้ทำไม่ได้แล้วแน่ ๆ... เศร้า...)

สรุปว่าพูดอังกฤษได้เฉยเลยค่าาา เย่ ปรบมือ 88888

55555555555

แต่ที่ยากกว่าอังกฤษคือวิทย์...
อันนี้คือวิชาต้มกินที่แท้จริง... ถึงจะบอกว่า i+1 ยังไง วิชานี้สำหรับมิ้นน่าจะเป็น i+1+1 เพราะต้องเจอทั้งศัพท์ใหม่และความรู้ใหม่ไปพร้อม ๆ กัน ช่วงแรก ๆ ที่ศัพท์พื้นฐานในหัวน้อยนี่ ตอนสอบวิชานี้คือท่องไปค่ะ! ท่องทุกคำ 55555
แต่หลัง ๆ เมื่อเริ่มมีศัพท์เยอะขึ้น ก็เริ่มสร้างประโยคตอบเองได้แล้ว ก็ทรมานน้อยลงมาหน่อย ><;;

กลับมาเรื่องภาษาอังกฤษ!!! 55555
การเรียนภาษาที่ 2 ตั้งแต่เด็ก ๆ คิดว่าดีกว่าจริง ๆ โดยเฉพาะในการให้ไปเรียนแบบที่สภาพแวดล้อมเป็นคนที่ใช้นั้น ๆ แบบนี้ เพราะจะต้องใช้แน่ ๆ ไม่ใช้ไม่ได้ เด็กจะซึมซับและก็อปปี้เองโดยไม่รู้ตัว /เห็นได้จากการที่ไม่เคยเรียนแกรมม่าแต่สามารถอยู่ได้ 55555
และในโรงเรียนแบบนี้ นอกจากต้องพูดกับทีชเชอร์แล้ว บางครั้งเด็กยังต้องเป็นล่ามให้อาจารย์บางคนกับทีชเชอร์ด้วย เป็นการสร้างความมั่นใจและบอกเด็กเป็นนัย ๆ ว่าภาษาที่เรียนนั้นมีประโยชน์
อีกอย่างคือ ในสังคมเพื่อนกันเอง มีการใช้อังกฤษสลับกับไทย
ซึ่งจริง ๆ จะว่าเป็นสิ่งที่ดีก็ไม่ถูกซะทีเดียว /เคยติดเอาวิธีพูดอิ๊งสลับไทยมาใช้ที่บ้านละโดนคุณแม่ดุด้วย5555/
แต่มันทำให้เราได้คุ้นเคยกับภาษาที่ 2 อยู่ตลอดเวลา
เช่น เวลาคุยกับเพื่อนที่ได้ภาษาไทย แต่เวลาอุทานจะใช้คำอุทานของภาษาอังกฤษเช่น ouch! OMG  กลายเป็นปฏิกริยาอัตโนมัต คำที่ใช้เรียกชื่อวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษ  เช่น แมธ(math)  ซายแอน(scient) คำอื่น ๆ เช่น ไปกินlunchกัน เป็นต้น
คำพวกนี้เป็นคำที่ได้ใช้ทุกวัน
รวมทั้งเพื่อนหลาย ๆ คน ไม่ใช่เนทีฟไทย เวลาเพื่อนนึกภาษาไทยไม่ออกเลย จะกลายเป็นว่าต้องคุยภาษาอังกฤษกัน

ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุกวันไม่ต่างกับภาษาไทย

คิดว่าน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เด็กที่เรียนโรงเรียน 2 ภาษาแบบนี้ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้แบบไม่ต้องคิดนาน และใช้ได้เลย แม้ว่าที่บ้านจะสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยก็ตาม

เย่~ พอ!!! พอก่อน
ลองได้นึกถึงเรื่องของตัวเองเมื่อก่อนแล้วสนุก ;___; และคิดถึงเพื่อน ๆ แงงงง
อันนี้คือจุดขึ้นของการเรียนภาษาที่ 2 ของเด็กไบลิงกวล
เดี๋ยวคราวหน้าจะมาเขียนจุดที่ทำให้ภาษาอังกฤษของมิ้นหายไป 55555
มันก็ยังใช้ได้แหละ แต่เมื่อเทียบกับตอนเด็ก ๆ แล้ว ตอนนั้นคล่องกว่าเยอะ ฮืออออ

บุ๊บบุ้ยค่าาาา

1 ความคิดเห็น:

  1. เรื่องการเรียนภาษาอังกฤษของหนูน่าสนใจจัง ไว้เล่าต่อนะว่ามันหายไปได้ยังไง ไว้ตอนที่เราเรียนเรื่อง bilingualism น่าจะ share ความเห็นกันได้ ตอนแรกที่ครูเขาเอาเราออกมาสอนแยก เขาเรียกว่า 取り出し授業 ต้องขอบคุณครูเทอรีนจริงๆ

    ตอบลบ