วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

:+: 11 :+: Storytelling

สวัสดียามดึกค่าาา
...ดึกทุกรอบ เหมือนไม่ดึกอารมณ์อยากเขียนไม่มา 5555
วันนี้จะพูดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนเรื่องการเล่าเรื่องค่ะ

สิ่งสำคัญที่ได้จากเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ การทำให้คนฟังสนุกไปกับเรื่องที่เราเล่า

เอ๊ะ แต่จะทำได้ยังไง???

ลองมาสังเกตจากตัวอย่างการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นกันค่ะ

ก่อนอื่นเลย เริ่มจากวิธีการเล่าเรื่อง

----ต้องเล่าให้เป็นลำดับค่ะ
เพื่อให้คนฟังตามเรื่องเล่าของเราได้ทัน เหมือนเค้าเห็นเหตุการณ์นั้นไปกับเรานะคะ

----แล้วก็เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นเราต้องกำหนด視点หรือมุมมองของผู้เล่าให้ชัดเจนค่ะ
เช่น
あたしがね、ホテルにいた時にロビーソファーにこう座ってたんだけど」
แบบนี้แปลว่าผู้เล่าเรื่องคือตัวเอกของเรื่อง
ขณะเล่าเรื่อง ควรทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าอยู่ข้าง ๆ ตัวเอกตัวนั้นตลอดเรื่อง
ทำได้โดยการ เมื่อมีตัวละครอื่นเข้ามา หรือออกห่างตัวเองให้ใช้ ~てくる หรือ ~ていった เป็นการบอกการเคลื่อนไหวของกริยา เช่น
「目が合った瞬間ね、にこーって顔になって寄ってくるの」

---และอาจจะเพิ่มคำเลียนเสียงเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
เช่น
แทนที่จะบอกว่า เค้าหัวล้าน หรือไม่มีผม ก็อธิบายว่าหัวมันเงาแบบ...「そしたら、彼の頭も、つるつるぴかぴかだったの」แทนจะเห็นภาพมากกว่าใช่มั้ยล่ะ

พอเราเล่าไปเรื่อย ๆ มีเกริ่นเรื่อง เนื้อเรื่อง ไปเรื่อง ๆ ก็จะมาถึงจุคพีคหรือจุดไคลแมกซ์ของเรื่อง
อันนี่เป็นจุดขายละ อาจจะเน้นตรงนี้ให้ดูเด่น หรือดูตื่นตาตื่นใจต่างจากเนื้อเรื่องจุดอื่น ๆ

ทำได้โดย...
----ใช้น้ำเสียงให้ดูตื่นเต้น เหมือนเวลาดูหนัง ฉากตื่นเต้นก็จะมีดนตรีเร็ว ๆ ฟังดูน่าตื่นเต้นประกอบ แต่ตอนเล่าเรื่องจะให้มาเปิดเสียงประกอบก็ไม่ใช่ ก็เลยใช้เสียงของตัวเองนี่แหละทำให้ตื่นเต้นแทน
อาจจะเล่าด้วยน้ำเสียงปกติ มีปรับตามอารมณ์เนื้อเรื่อง
เช่น ช่วงที่เศร้า ก็ทำเสียงนิ่ง ๆ หรือเสียงเศร้า ช่วงที่ร่าเริงก็เล่าด้วยน้ำเสียงสดใจ
และเมื่อมาถึงจุดพีค ก็เน้นเสียงให้ดูมีพลัง หรืออาจจะพูดด้วยเสียงที่ดังกว่าปกติเล็กน้อย

และนอกจากน้ำเสียงที่ช่วยให้คนฟังสนใจเรื่องของเราในจุดที่เราต้องการเน้นแล้ว
----อาจจะมีการถามกลับไปยังคนฟัง หรือที่เรียกว่า metalanguage เพื่อให้คนดูมีการคิดถึงเรื่องที่เล่าและเกิดความสงสัยให้เหตุการณ์ต่อไป
เช่น
「彼、そこで何と言ったと思う?ニコット笑って…そんなこと、気にしなくていいよ、って言ったのよ。」
「それで、次、彼、何したと思う? 彼、自分の髪の毛に手を持っていって、つるって、髪の毛を取ったのよ。」
***สังเกตได้ว่ามักจะเป็นคำถามเชิงว่า คุณคิดว่า....? หรือ ~と思う?

แล้วลองมาสังเกตคำต่าง ๆ ที่คนญี่ปุ่นกันเถอะ

เริ่มจากตอนจะเริ่มเล่า อาจจะมีการใช้คำเพื่อดึงความสนใจของผู้ฟังก่อน
เช่น
+++ ねえ、ねえ、聞いてよ。
+++ あのさ
+++ あのね
+++ えっとね
เป็นต้น


คำลงท้ายที่น่าสนใจ มีดังนี้

+++ คำว่า ね ที่ปกติจะใช้ลงท้ายประโยคเมื่อผู้พูดและฝ่ายตรงข้ามเห็นพ้องตรงกัน
ในการเล่าเรื่อง มีการใช้ ね เหมือนเป็นการตัดประโยคเป็นช่วง ๆ เพื่อให้คนฟังตามเรื่องที่เล่าทัน
เช่น
「おじさんが、新聞こう読んでたんだけど、まあちょっと同じソファーで、広いソファー、いたんだけど。」

+++ คำว่า の ลงท้ายประโยคเพื่อบอกเล่าแบบเน้น
เช่น
「でも、そのおかげで、すごい素敵な彼氏ができた。」
「いつもだったら隠してあった昔のアルバムの写真を、そのまま机の上に出しちゃって、彼がそれを見ちゃった。」

+++ การลงท้ายประโยคด้วย ~てしまいました、~てしまった、~ちゃった・じゃった
เป็นการเพิ่มฟีลลิ่งในการเล่าเรื่อง คล้าย ๆ กับว่า "ทำ...ไปซะแล้ว" จะอินเนอร์แฝงอยู่มากกว่า "ทำ...แล้ว"
ตัวอย่างประโยคก็เช่น
「で、ちょっとよけいに怒っちゃったんだけど、…」


และคำอื่น ๆ ที่ใช้ในประโยคที่ดูน่าสนใจก็มี...

+++ なんと ที่เอาไว้ใช้บอกเหตุการณ์ที่คนฟังไม่น่าจะคาดการณ์มาก่อน
เช่น
「その彼氏、おもむろに頭に、手をやってさ、なんと、髪の毛をとっちゃったんだよ」

+++ つまり ใช้เมื่อต้องการเล่าเรื่องที่พูดไปแล้วซ้ำอีกครั้ง อาจจะเป็นการอธิบายให้ง่ายขึ้น เมื่อเห็นผู้ฟังทำหน้าไม่เข้าใจ
เช่น
คู่รักน่าตาดีคู่หนึ่ง ที่ฝ่ายหญิงปิดบังเรื่อง「本当の顔があって、その顔はすご~いブスなの。つまり、整形して、すごい美人になったのね。」ตนสวยเพราะผ่านมีดหมอมา แต่วันนึงความแตก แต่แฟนหนุ่มหน้าตาดีของเธอก็บอกว่าไม่เป็นไรหรอก พร้อมกับดึงวิกผมของตนออก「だから、彼も、つまり、整形みたいなものよ。」สรุปแล้วหญิงสวยเพราะศัลย์ชายหล่อเพราะวิก...

และสุดท้ายยยย
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการที่ได้เล่าเรื่องคู่กับเพื่อนในห้องเรียนคือ...
ตัวละคร... การเรียกตัวละครควรแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ถ้ามีผู้ชาย 2 คน อาจจะเป็น 男の人 กับ おじさん ไปเลย
เพราะถ้าเป็น男の人ทั้ง 2 คน แม้ว่าจะอธิบายว่า ชายคนที่ดื่มกาแฟ กับ ชายคนที่อ่านหนังสือพิมพ์ อาจจะยาวไป แล้วพอเล่าไปเรื่อย ๆ เมื่อมีการเปลี่ยนกิริยาการกระทำอาจจะทำให้งงได้
"เอ๊ะ เมื่อกี้พูดถึงชายคนไหนนะ???"

ก็ประมาณนี้
เรื่องการใช้คำอาจจะใช้วิธีการท่องจำเอาได้
แต่การใช้น้ำเสียงขึ้นลง ใส่ฟีลลิ่งลงไปเพื่อให้คนฟังอินนี่...น่าจะต้องฝึกอีกนานเลย...
がんばろ!!!

1 ความคิดเห็น:

  1. การดึงความสนใจผู้ฟังก่อนเข้าเรื่องน่าสนใจนะคะ (ตัวเปิดบทสนทนา) มีงานวิจัยทางด้านนี้บ้างเหมือนกัน ภาษาญี่ปุ่นมีเยอะหน่อยเหมือนวาง cushion ไว้ก่อนจะเข้าเรื่อง สำนวน なんと ก็พบมากตอนเล่าเรื่อง จับจุดที่น่าสนใจได้ดีค่ะ

    ตอบลบ